หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ ป.วิอาญา ข้อ 51 - 100

ข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

51. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ชนผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยประมาทขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้องจริง ศาลชั้นต้นสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงเสนอ พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะแล้วเสนอรายงานว่า ความจริง จำเลยไม่ได้ขับรถชนผู้ตาย ญาติของจำเลยเป็นคนขับแต่ได้ขอให้จำเลยรับผิดแทนดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในรายงานของพนักงานคุมประพฤติ แล้วพิพากษายกฟ้องทันทีได้หรือไม่ ( เนติ 54 )

ก. รายงานของพนักงานคุมประพฤติเพยานเป็นหลักฐาน ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีได้

ข. รายงานของพนักงานคุมประพฤติมิใช่พยานหลักฐาน ศาลจะนำมาใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดหรือมิได้กระทำผิดไม่ได้ ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีไม่ได้

ค. เป็นดุลพินิจของศาล ศาลจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามรายงานดังกล่าว แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันทีได้

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค

52. ศาลชั้นต้นจะถือข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำให้การรับสารภาพของจำเลย แล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด โดยไม่คำนึงถึงรายงานของพนักงานคุมประพฤติเลย ชอบหรือไม่ ( เนติ 54 )

ก. แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้อง และข้อหานั้น กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาทันทีโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แต่ในคดีอาญาหากมีมูลกรณีให้เห็นว่าจำเลยจะมิใช่ผู้กระทำผิด ศาลก็ชอบที่จะให้มีการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป

ข. จำเลยจะให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะมีคำพิพากษา

ค. ศาลชอบที่จะให้มีการพิพากษาทุกกรณี

ง. ไม่มีข้อใดถูก

53. นายแดงลักแหวนเพชรของนายขาวไปจากบ้านพักที่อยู่ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครสวรรค์ แล้วขับรถยนต์หลบหนีไปทางจังหวัดกำแพงเพชร ร้อยตำรวจเอกสมศักดิ์ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทราบเรื่องจึงได้ไปตั้งด่านเพื่อจับกุม แต่นายแดงรู้ตัวเสียก่อนได้ขับรถยนต์หลบหนีไปทางจังหวัดตาก ร้อยตำรวจเอกสมศักดิ์จับกุมนายแดงได้พร้อมแหวนเพชรของนายขาวที่นายแดงลักเอาไปที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตากนำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทำการสอบสวนดำเนินคดี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชรทำการสอบสวนเสร็จ แล้วส่งสำนวนให้พนักงาน อัยการจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดบ้างที่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ( เนติ 52 )

ก. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองนครสวรรค์

ข. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร

ค. พนักงานสอบสวนท้องที่อำเภอเมืองตาก

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.

54. ตามข้อ 53 พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ ( เนติ 52 )

ก. มีอำนาจฟ้อง

ข. ไม่มีอำนาจฟ้อง

ค. มีอำนาจฟ้อง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.

55. นางสาวสวยเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด ไปประเทศสิงคโปร์ ขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือประเทศสิงคโปร์ นายหนุ่มซึ่งโดยสารอยู่ในเครื่องบินลำเดียวกันเสพสุรามึนเมา ได้กระทำอนาจารต่อนางสาวสวย เมื่อนางสาวสวยเดินทางกลับประเทศไทย ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ทำการสอบสวนคดี แต่นางสาวสวยเห็นว่าพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า จึงประสงค์จะยื่นฟ้องคดีเอง ให้วินิจฉัยว่า นางสาวสวยจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองได้หรือไม่ และจะยื่นฟ้องนายหนุ่มต่อศาลใดได้บ้าง ( เนติ 51 )

ก. ยื่นฟ้องได้ ที่ศาลจังหวัดสงขลา

ข. ยื่นฟ้องได้ ที่ศาลจังหวัดสงขลา

ค. ยื่นฟ้องไม่ได้

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

56. พันตำรวจโทสนิท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีตามคำร้องทุกข์ของนายเสนอผู้เสียหาย ซึ่งกล่าวหาว่านายสนองผู้ต้องหากระทำการฉ้อโกงทรัพย์ของนายเสนอ ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ระหว่างสอบสวนนายเสนอ และนายสนองได้ทำความตกลงด้วยวาจายอมเลิกคดีต่อกัน โดยนายสนองยินยอมผ่อนชำระค่าเสียหายเนื่องจากการะกระทำความผิดในคดีนี้ให้แก่นายเสนอเป็นสองงวด นายเสนอ และนายสนองได้มาแจ้งถึงความตกลงดังกล่าวให้พันตำรวจโทสนิท ทราบ ต่อมานายสนองไม่ได้ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่นายเสนอตามที่ตกลงกันไว้ นายเสนอจึงขอให้พันตำรวจโทสนิท สอบสวนดำเนินคดีนี้แก่นายสนองต่อไป ให้วินิจฉัยว่า พันตำรวจโทสนิท จะมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีนี้แก่นายสนองต่อไปได้หรือไม่ ( เนติ 51 )

ก. สอบสวนได้ เพราะคดียังไม่ระงับ

ข. สอบสวนได้เฉพาะข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม

ค. สอบสวนไม่ได้ เฉพาะคดีระงับไปหมดแล้ว

ง. สอบสวนได้เฉพาะข้อหาฉ้อโกงทรัพย์

57. นางสายถูกนายกล้ายกยอกแหวนเพชรไปในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีจึงได้ไปร้องทุกข์เรื่องที่ตนถูกนายกล้ายักยอกทรัพย์ต่อสิบตำรวจตรีซื่อ ซึ่งเป็นตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ นางสายเห็นนายกล้าเดินเที่ยวอยู่ในห้างสรรพสินค้าในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร นางสายจึงแจ้งให้สิบตำรวจเอกตรง จับนายกล้า โดยแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว สิบตำรวจเอกตรงจึงไปทำการจับกุมนายกล้าได้ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว แล้วควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี ในระหว่างที่นายกล้าถูกควบคุมตัวโดยพนักงานสอบสวน นายกล้าได้ยื่นคำร้องต่อศาลนนทบุรี ขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอันยอมความได้แต่มิได้มีการร้องทุกข์ ข้ออ้างของนายกล้ารับฟังได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. รับฟังได้ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน

ข. รับฟังได้ เพราะไม่ได้ร้องทุกข์กับนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่

ค. รับฟังไม่ได้ เพราะการร้องทุกข์จะร้องทุกข์กับตำรวจใดก็ได้

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

58. ตามข้อ 57 หากนายกล้าต่อสู้ว่าสิบตำรวจเอกตรงทำการจับโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีหมายจับและหมายค้น ให้วินิจฉัยว่า ข้ออ้างของนายกล้ารับฟังได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. รับฟังได้ เพราะการจับกุมต้องมีหมายหรือคำสั่งจากศาล

ข. รับฟังได้ เพราะการจับกุมต้องมีหมายหรือคำสั่งจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่

ค. รับฟังไม่ได้ เพราะผู้เสียหายชี้ให้ทำการจับกุมได้

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

59. นายแดงและนายขาวต่างเป็นโจทก์ฟ้องนายดำในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกัน หลังจากสืบพยานโจทก์นัดแรกไปแล้ว ในการสืบพยานโจทก์นัดต่อมา นายขาวและทนายของนายขาวมาศาล ส่วนนายแดงและทนายของนายแดงไม่มาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกฟ้องคดีที่นายแดงเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 นายแดงอุทธรณ์ว่า เมื่อศาลรวมพิจารณาคดีที่นายแดงเป็นโจทก์เข้ากับคดีที่นายขาวเป็นโจทก์ การฟังพยานหลักฐานตลอดจนการพิพากษาคดีต้องถือเป็นคดีเดียวกัน แม้ถึงวันนัดสืบพยาน โจทก์ทั้งสองจะมีแต่นายขาวและทนายของนายขาวมาศาลก็ตาม ต้องถือว่านายแดงมาศาลด้วย อีกทั้งมิใช่เป็นการนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องในคดีที่นายแดงเป็นโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่( เนติ 51 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องมาศาลในวันนัดสืบพยานทุกนัด การรวมคดีก็เพื่อสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาเท่านั้น

ข. ฟังขึ้น เพราะมีการรวมคดีและนายขาว ทนายความนายขาวโจทก์ก็มาศาลแล้ว

ค. ฟังขึ้น เพราะในดคอาญาโจทก์ไม่จำต้องมาศาลในวันนัดสืบพยานทุกนัด

ง. ไม่มีข้อใดถูก

60. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีลูกระเบิดขว้างชนิดสังหารไว้ในครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษประหารชีวิตอันเป็นบทหนัก จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีกกรรมหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิด แต่หากศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยก็ขอให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ต้องลดโทษให้แก่จำเลย เช่นนี้หากศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดจะพิพากษาลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ลดโทษให้จำเลยได้หรือไม่( เนติ 51 )

ก. ได้ เพราะเป็นฎีกาให้เพิ่มโทษของจำเลยเอง

ข. ได้ เพราะอัตราโทษที่ฟ้องระบุถึง

ค. ไม่ได้ เพราะศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นแล้ว

ง. ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ฎีกาให้เพิ่มโทษ

61. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ซึ่งความผิดดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ถึง 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 6 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยอ้างว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วให้วินิจฉัยว่า ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่( เนติ 51 )

ก. จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ เพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย

ข. จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย

ค. จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ง. จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เพราะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

62. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 พันตำรวจโทยุทธศักดิ์ พนักงานสอบสวนขอศาลออกหมายจับนางสมศรีในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และได้สืบสวนจนทราบว่านางสมศรีอยู่ในบ้านของตนซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนายสมศักดิ์สามีของนางสมศรีเป็นเจ้าบ้าน พันตำรวจโทยุทธศักดิ์ จึงมอบหมายให้พันตำรวจตรีทรงวุธนำกำลังตำรวจจำนวนหนึ่งไปขอค้นบ้านนายสมศักดิ์โดยไม่มีหมายค้น นายสมศักดิ์ไม่ยอมให้ค้น พันตำรวจตรีทรงวุธจึงแสดงหมายจับนางสมศรี และอ้างว่าตนเป็นพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่สามารถทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย และขู่ว่าถ้านายสมศักดิ์ไม่ให้ความร่วมมือจะถูกดำเนินคดี นายสมศักดิ์จึงจำยอม และพันตำรวจตรีทรงวุธจึงจับกุมนางสมศรีได้ ให้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้หรือไม่ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 51 )

ก. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมาย

ข. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ค. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังไม่ได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธชอบด้วยกฎหมาย

ง. ข้ออ้างของพันตำรวจตรีทรงวุธรับฟังไม่ได้ และการกระทำของพันตำรวจตรีทรงวุธไม่ชอบด้วยกฎหมาย

63. นางวิไลมีบุตรสองคนคือ นายสมศักดิ์ อายุ 24 ปี และนายสมทรงอายุ 21 ปี นายสมทรงถูกนายอาวุธใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย นางวิไลจึงเป็นโจทก์ฟ้องนายอาวุธฐานฆ่านายสมทรงที่ศาลอาญา ศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งประทับฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญา พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนคดีที่นายอาวุธใช้อาวุธปืนยิงนายสมทรงถึงแก่ความตาย ส่งให้พนักงานอัยการพิจารณา พนักงานอัยการพิจารณาแล้วได้ยื่นฟ้องนายอาวุธที่ศาลอาญาฐานฆ่านายสมทรงอีกคดีหนึ่ง ต่อมานางวิไลถึงแก่ความตาย นายสมศักดิ์จึงร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อดำเนินคดีแทนนางวิไลต่อไป หากปรากฏว่าคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์นายอาวุธคัดค้านว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีที่นางวิไลได้ยื่นฟ้องนายอาวุธไว้แล้ว ให้วินิจฉัยว่า ข้อคัดค้านของนายอาวุธดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนมิให้ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

ข. ฟังไม่ขึ้น เพราะผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างมีอำนาจฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันได้

ค. ฟังขึ้น เพราะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อน

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

64. ตามข้อ 63 หากคดีที่นางวิไลเป็นโจทก์ นายอาวุธคัดค้านว่านายสมศักดิ์ไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนนางวิไลต่อไปได้ ให้วินิจฉัยว่า ข้อคัดค้านของนายอาวุธดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้

ข. ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นการรับมรดกความ

ค. ฟังขึ้น เพราะนางวิไลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

65. นายคมถูกพนักงานสอบสวนจับกุมสอบสวนในข้อหาฉ้อโกงนายขำและนายเขียว และทำร้ายร่างกายนายเขียวได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายคมในข้อหาฉ้อโกง แต่มีคำสั่งฟ้องนายคมในข้อหาทำร้ายร่างกายนายเขียวได้รับอันตรายสาหัส แล้วยื่นฟ้องนายคม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษนายคมตามฟ้อง นายคมอุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายเขียวได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ให้วินิจฉัยว่า นายเขียวมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้นายเขียวได้รับอันตรายสาหัส หรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ไม่มีสิทธิ เพราะต้องยื่นฟ้องคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ข. ไม่มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ค. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ง. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

66. ตามข้อ 65 คดีข้อหาฉ้อโกง นายขำได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายเขียวได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายขำ ให้วินิจฉัยว่านายเขียวมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายขำในความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่( เนติ 50 )

ก. ไม่มีสิทธิ เพราะ ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30,31

ข. ไม่มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ขัดกับ ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ค. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ง. มีสิทธิ เพราะยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

67. คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365 (3) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยอุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า ความผิดตามมาตรา 365 (3) มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ไม่มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องต่อมาศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 362 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้จำหน่ายคดีเพราะโจทก์และจำเลยยอมความกันแล้ว ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีได้หรือไม่( เนติ 50 )

ก. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว

ข. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว

ค. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว

ง. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน และศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีได้ เพราะถือเป็นความผิดต่อส่วนตัว

68. พนักงานอัยการฟ้องนายดำต่อศาลอาญาว่านายดำกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา นายดำยื่นคำร้องต่อศาลว่าเป็นการฟ้องเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง ของให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน ศาลอาญาจึงมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายดำพร้อมทนายความมาศาล พนักงานอัยการนำผู้เสียหายเข้าเบิกความจนจบคำซักถามทนายจำเลยไม่ถามค้าน นายดำยื่นคำให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกไว้ ผู้เสียหายแถลงขอให้ศาลรอการลงโทษให้นายดำ ถ้าศาลอาญาจะพิจารณาพิพากษาคดีให้เสร็จไปในวันนั้น ศาลอาญาจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร( เนติ 50 )

ก. ศาลต้องสั่งประทับรับฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 162

ข. ศาลต้องสั่งดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 172

ค. ศาลอ่านคำฟ้อง สอบถามคำให้การจำเลย หากจำเลยรับสารภาพ ก็มีคำพิพากษาได้

ง. ถูกทุกข้อ

69. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายเสริมเป็นจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายนางสาวจิราได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงต่อศาลว่าไม่ต้องการทนายความและขอให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 เดือน ลดโทษในกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด และตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรลงโทษจำเลยสถานหนัก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดจริง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก 3 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้วินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 50 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย

ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ค. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

ง. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

70. ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ลงโทษจำคุกจำเลย 5 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก 2 เดือน และปรับ 24,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 50 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย

ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

ค. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนและปรับ นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

ง. เฉพาะกรณีแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี นั้น ชอบด้วยกฎหมาย

71. นายใช้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายช่วยไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจเอกชัยพนักงานสอบสวนว่า นายชอบได้ลักรถจักรยานยนต์ของตนไป ขอให้จับกุมนายชอบมาดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ ต่อมาร้อยตำรวจเอกชัยสืบสวนทราบว่าคนร้ายไม่ใช่นายชอบ แต่เป็นนายชิง จึงจับกุมนายชิงมาสอบสวนดำเนินคดี นายชิงโต้แย้งว่าจับกุมผิดตัวจากหนังสือมอบอำนาจ การกระทำของร้อยตำรวจเอกชัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า ข้อโต้แย้งของนายชิงดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 50 )

ก. ฟังขึ้น เพราะนายใช้ไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวหานายชิง

ข. ฟังขึ้น เพราะหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุไว้

ค. ฟังไม่ขึ้น เพราะนายชอบไม่ได้กระทำความผิด

ง. ฟังไม่ขึ้น เพราะความผิดลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ร.ต.อ.เอกชัยจึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวน

72. ตามข้อ 70 หากนายใช้ได้ร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจเอกชัยว่า รถจักรยานยนต์หายไปและพบอยู่ในบ้านของนายชิง ขอให้สืบสวนจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี ต่อมาร้อยตำรวจเอกชัยสืบสวนทราบว่านายชิงเป็นคนลักเอารถจักรยานยนต์ของนายใช้ไปเองจึงจับกุมนายชิงมาดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ นายชิงโต้แย้งว่านายใช้ไม่ได้แจ้งข้อหาความผิดนี้ไว้ในคำร้องทุกข์ การกระทำของร้อยตำรวจเอกชัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า ข้อโต้แย้งของนายชิงทั้งสองกรณีดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 50 )

ก. ฟังขึ้น เพราะนายใช้ไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวหานายชิง

ข. ฟังขึ้น เพราะ ร.ต.อ.เอกชัยฯ ไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวน

ค. ฟังไม่ขึ้น เพราะนายชิงเป็นผู้กระทำความผิด

ง. ฟังไม่ขึ้น เพราะการร้องทุกข์ไม่จำเป็นต้องระบุฐานความผิด ร.ต.อ.เอกชัยจึงมีอำนาจ

73. นายโชติด่าว่านายช่วง นายช่วงจึงเรียกนายโชติมาที่บ้านเพื่อว่ากล่าวตักเตือนนายโชติไม่พอใจได้กำหมัดเดินเข้าไปหานายช่วง นายช่วงเข้ากอดรัดนายโชติแล้วทุ่มนายโชติลงกับพื้นซีเมนต์ หน้าผากนายโชติฟาดลงที่พื้นและนอนนิ่งไม่ได้สติ นายช่วงจึงไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจเอกชัชวาลพนักงานสอบสวนว่านายโชติบุกรุก ร้อยตำรวจเอกชัชวาลร่วมกับแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพ และเมื่อทำการสอบสวนเสร็จแล้วสรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายช่วงส่งให้พนักงานอัยการ โดยไม่ได้ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลทำการไต่สวนแสดงถึงการตายของนายโชติตามกฎหมาย พนักงานอัยการฟ้องนายช่วงเป็นจำเลยขอให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะที่เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุกและตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน พนักงานสอบสวนทำการชันสูตรพลิกศพแล้วไม่ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนตามกฎหมายการชันสูตรพลิกศพยังไม่สมบูรณ์ การสอบสวนจึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 49 )

ก. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น อัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ข. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น อัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ค. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น อัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง

ง. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น อัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

74. นายเอกหลอกลวงนายโทว่าจะช่วยติดต่อให้นายโทเข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบ แต่นายโทต้องเสียเงิน 40,000 บาท ให้นายเอก นายโทหลงเชื่อมอบเงิน 40,000 บาทให้นายเอก ต่อมานายโทเข้าเป็นสารวัตรทหารไม่ได้จึงขอเงินคืน นายเอกไม่คืนให้ นายโทไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า นายเอกฉ้อโกงต่อมามีการเจรจาตกลงกันระหว่างนายเอกกับนายโทต่อหน้าพนักงานสอบสวน และได้มีการบันทึกข้อตกลงไว้ว่า นายเอกจะนำเงินมาคืนให้ภายในวันที่ที่กำหนด ถ้านายเอกนำเงินมาคืน นายโทก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยทั้งสามคนได้ลงลายมือชื่อไว้ ครั้นถึงวันที่ที่กำหนด นายเอกมิได้ชำระเงินคืนแก่นายโท ดังนี้ นายโทจะเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องนายเอกฐานฉ้อโกงหรือไม่ และข้อตกลงดังกล่าวทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของนายโทระงับไปหรือไม่(เนติ 49 )

ก. นายโทเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องนายเอกฐานฉ้อโกงได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของนายโทระงับไป

ข. นายโทไม่เป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องนายเอกฐานฉ้อโกงได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของนายโทระงับไป

ค. นายโทเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องนายเอกฐานฉ้อโกงได้ และข้อตกลงดังกล่าวทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของนายโทระงับไป

ง. นายโทไม่เป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องนายเอกฐานฉ้อโกงได้ และข้อตกลงดังกล่าวทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของนายโทระงับไป

75. นายโชคดีแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อนายสุทธิฐานลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ของนายโชคดี พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำนายโชคดีแล้วจับกุมดำเนินคดีและสอบปากคำนายสุทธิฐานลักทรัพย์ จากนั้นมีความเห็นควรสั่งฟ้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณา พนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งฟ้องและยื่นฟ้องนายสุทธิต่อศาลฐานลักทรัพย์ ในระหว่างสืบพยานโจทก์นายโชคดีแจ้งแก่พนักงานอัยการว่าคดีนี้มีนายสง่าเห็นเหตุการณ์ขณะที่นายสุทธิลักทรัพย์ของตน พนักงานอัยการจึงนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ นายสุทธิคัดค้านว่า พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะมิได้มีการสอบสวนนายสง่ามาก่อน และคัดค้านมิให้นายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ดังนี้ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ และสามารถนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้หรือไม่(เนติ 49 )

ก. พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง และไม่สามารถนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้

ข. พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง และสามารถนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้

ค. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง และสามารถนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้

ง. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง และไม่สามารถนำนายสง่าเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ได้

76. นายดำฟ้องนายแดงเป็นคดีแพ่งว่านายแดงผิดสัญญาซื้อขาย ขอให้ใช้ค่าเสียหาย โดยนายดำเบิกความว่านายแดงซื้อสินค้าไปและไม่ชำระราคา ต่อมานายแดงยื่นฟ้องนายดำเป็นคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งนั้น ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลให้เลื่อนไปรอฟังผลในคดีแพ่ง ต่อมาศาลนัดพร้อมในคดีอาญาเพื่อสอบถามถึงผลของคดีแพ่ง วันนัดพร้อมถ้านายแดงทราบนัดแล้วไม่มาศาล กรณีหนึ่ง หรือไม่มาศาลเพราะไม่ทราบนัดเนื่องจากการส่งหมายนัดไม่ชอบอีกกรณีหนึ่ง ทั้งสองกรณีดังกล่าว ศาลจะยกฟ้องได้หรือไม่ และถ้าศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 แล้ว 20 วัน นายแดงจะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ได้หรือไม่(เนติ 49 )

ก. การนัดพร้อมเพื่อสอบถามถึงผลคดีแพ่ง นายแดงทราบนัด หรือไม่ทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลยกฟ้องได้ ดังนั้นนายแดงจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ได้ แม้จะพ้นกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรค 1

ข. การนัดพร้อมเพื่อสอบถามถึงผลคดีแพ่ง ไม่ใช่การนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณา แม้นายแดงจะทราบนัด หรือไม่ทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลก็จะยกฟ้องไม่ได้ แต่นายแดงยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ไม่ได้ เพราะพ้นกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรค 1

ค. การนัดพร้อมเพื่อสอบถามถึงผลคดีแพ่ง ไม่ใช่การนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณา แม้นายแดงจะทราบนัด หรือไม่ทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลก็จะยกฟ้องไม่ได้ ดังนั้นนายแดงจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ได้ แม้จะพ้นกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรค 1

ง. การนัดพร้อมเพื่อสอบถามถึงผลคดีแพ่ง นายแดงทราบนัด หรือไม่ทราบนัดแล้วไม่มาศาล ศาลยกฟ้องได้ แต่นายแดงยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ไม่ได้ เพราะพ้นกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรค 1

77. คดีอาญาเรื่องหนึ่ง ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 คน ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน แต่ได้ออกนั่งฟังประเด็นกลับ และในวันนั้นจำเลยแถลงหมดพยานผู้พิพากษาทั้งสองจึงได้พิพากษาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษานั้น ดังนี้ คำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 49 )

ก. ถือว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 คน เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนแล้ว จึงพิพากษาได้

ข. ถือว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 คน ไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนแล้ว จึงพิพากษาไม่ได้

ค. ถือว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 คน เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนแล้ว แต่จะพิพากษาไม่ได้

ง. ถือว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 คน เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนแล้ว แต่ไม่ครบองค์คณะ จึงพิพากษาไม่ได้

78. คดีอาญาอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่มีผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นที่รับประเด็นในคดีนั้นเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด และอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนี้ คำสั่งอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 49 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี

ข. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับประเด็นในคดีนั้น

ค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ครบองค์คณะ

ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือว่าไม่ใช่ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี

79. โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าและฐานทำให้เสียทรัพย์ต่างกรรมต่างวาระกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 และ 358 โดยในคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเรียงกระทำความผิดและมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง ดังนี้ ศาลจะมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเรียงกระทงความผิดได้หรือไม่(เนติ 49 )

ก. ศาลมีอำนาจ ไม่เกินคำขอ

ข. ศาลมีอำนาจ เพราะ ปอ.มาตรา 91 มิใช้มาตราที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด

ค. ศาลมีอำนาจ เพราะคำฟ้องได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเข้าลักษณะต่างกรรมต่างวาระ

ง. ถูกทุกข้อ

80. โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนซึ่งไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า แต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเพียงได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 371, และ 376 หากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาฟังได้ด้วยว่า จำเลยยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ได้หรือไม่(เนติ 49 )

ก. ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ไม่ได้ เพราะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

ข. ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ไม่ได้ เพราะจำเลยหลงต่อสู้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

ค. ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ได้ เพราะมีคำขอท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

ง. ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ได้ เพราะไม่เกินคำขอ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

81. พันตำรวจโทเคร่งสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจแห่งหนึ่ง สืบทราบว่าที่บ้านของนายหนึ่งมีสิ่งของที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์ซุกซ่อนอยู่ จึงออกหมายค้นระบุให้จ่าสิบตำรวจพิทักษ์ไปตรวจค้น แต่ก่อนที่จ่าสิบตำรวจพิทักษ์กับพวกจะเข้าตรวจค้น นายหนึ่งได้หลบหนี และไม่มีคนในครอบครัวของนายหนึ่งอยู่ในบ้าน จ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงเชิญคนซึ่งอยู่ใกล้บ้านนายหนึ่ง 2 คน มาเป็นพยานในการตรวจค้น นายหนึ่งอ้างว่าการตรวจค้นไม่ได้ทำต่อหน้านายหนึ่งหรือบุคคลในครอบครัวของนายหนึ่งเป็นการตรวจค้นที่ไม่ชอบ ดังนี้ ข้ออ้างของนายหนึ่งฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 49 )

ก. ฟังขึ้น เพราะ ไม่มีคนในครอบครัวของนายหนึ่งมาเป็นพยานในการค้น

ข. ฟังขึ้น เพราะ จ.ส.ต.พิทักษ์ฯ ไม่สามารถร้องขอบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนมาเป็นพยานได้

ค. ฟังไม่ขึ้น เพราะ จ.ส.ต.พิทักษ์ฯ สามารถร้องขอบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนมาเป็นพยานได้

ง. ฟังไม่ขึ้น เพราะ นายหนึ่งหลบหนี จึงไม่ต้องค้นต่อหน้าพยานก็ได้

82. ตามข้อ 81 ถ้าระหว่างที่ตรวจค้นอยู่นั้น จ่าสิบตำรวจพิทักษ์พบนายสองคนร้ายคดีฆ่าผู้อื่นหลบซ่อนอยู่ในบ้าน จ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงเข้าจับกุมนายสองส่งให้พันตำรวจโทเคร่ง ส่วนนายสองอ้างว่าจ่าสิบตำรวจพิทักษ์จับโดยไม่ชอบ ดังนี้ ข้ออ้างของนายสองฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 49 )

ก. ฟังขึ้น เพราะการจับนายสองไม่มีหมายจับ

ข. ฟังขึ้น เพราะการจับนายสองเป็นการจับในที่รโหฐาน

ค. ฟังไม่ขึ้น เพราะการจับเป็นความผิดซึ่งหน้า

ง. ฟังไม่ขึ้น เพราะการจับนายสองนั้นนายสองเป็นผู้ร้ายสำคัญ และก็พบตัวแล้ว

83. นายชิดและนางชอบเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตร 1 คน คือนายชัย นายชัยได้นางเชื้อเป็นภริยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นายชิดและนางชอบสงสารนางเชื้อจึงยอมจดทะเบียนรับนางเชื้อเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายชัยขับรถยนต์ไปค้าขายกับนายชิด และด้วยความประมาทไปตัดหน้ารถยนต์ของนายดำที่ขับแข่งกับนายแดงมาด้วยความเร็วบนถนนหลวง จึงเกิดชนกับรถยนต์ของนายดำเป็นเหตุให้นายชิดและนายชัยถึงแก่ความตาย ดังนี้ นางชอบและนางเชื้อจะมีอำนาจฟ้องนายดำและนายแดงเป็นคดีอาญาได้หรือไม่(เนติ 48 )

ก. กรณีนายชิดฯ นางชอบในฐานะภริยาของนายชิดฯ ไม่มีอำนาจนายดำและนายแดง ส่วนนางเชื้อเป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีนายชัยฯ มีส่วนประมาทจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นางชอบและนางเชื้อจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ข. กรณีนายชิดฯ นางชอบในฐานะภริยาของนายชิดฯ มีอำนาจนายดำและนายแดง ส่วนนางเชื้อเป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีนายชัยฯ มีส่วนประมาทจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นางชอบและนางเชื้อจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ค. กรณีนายชิดฯ นางชอบในฐานะภริยาของนายชิดฯ มีอำนาจนายดำและนายแดง ส่วนนางเชื้อเป็นบุตรบุญธรรมมีอำนาจฟ้อง กรณีนายชัยฯ มีส่วนประมาทจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นางชอบและนางเชื้อจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ง. กรณีนายชิดฯ นางชอบในฐานะภริยาของนายชิดฯ มีอำนาจนายดำและนายแดง ส่วนนางเชื้อเป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีนายชัยฯ นางชอบและนางเชื้อมีอำนาจฟ้อง

84. ร้อยตำรวจเอกเฉลียวรองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลยางรัก ขณะไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่เป็นนายร้อยตำรวจเวรสอบสวนของสถานีตำรวจดังกล่าว ได้รับคำร้องทุกข์จากนายฉลาดผู้เสียหายให้ดำเนินคดีอาญาเรื่องหนึ่งแก่นายฉลองผู้ต้องหา ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก ในขณะที่ร้อยตำรวจเอกเฉลียวรับคำร้องทุกข์นั้น ร้อยตำรวจเอกแฉล้มรองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจดังกล่าวได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่เป็นนายร้อยตำรวจสอบสวนอยู่ ร้อยตำรวจเอกเฉลียวได้ทำการสอบสวนคดีตามคำร้องทุกข์ของนายฉลาดเสร็จสิ้น จึงส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อมีคำสั่งทางคดีต่อไป ดังนี้ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอกเฉลียวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 48 )

ก. การสอบสวนของร้อยตำรวจเอกเฉลียวชอบด้วยกฎหมาย

ข. การสอบสวนของร้อยตำรวจเอกเฉลียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เวร

ค. การสอบสวนของร้อยตำรวจเอกเฉลียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์

ง. การสอบสวนของร้อยตำรวจเอกเฉลียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

85. นายเงินบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้พานางสาวแก้วผู้เยาว์อายุ 19 ปี ไปทำงานเป็นลูกจ้างรับเลี้ยงบุตรให้นายเขียวและนางคำ โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านของนายจ้างที่จังหวัดชลบุรี นายเสียบซึ่งเป็นหลานชายของนายเชียวได้ข่มขืนกระทำชำเรานางสาวแก้วจนสำเร็จความใคร่ นางสาวแก้วได้เล่าให้นายเงินฟัง นายเงินและนางสาวแก้วจึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ขอให้ดำเนินคดีแก่นายเสียบในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราจนกว่าคดีถึงที่สุด ชั้นสอบสวนผู้ต้องหาในการปฏิเสธ พนักงานสอบสวนเสนอสำนวนต่อพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี โดยเห็นควรสั่งฟ้องฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ต่อมานางสาวแก้วบรรลุนิติภาวะได้มาขอถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่นายเสียบผู้ต้องหา เพราะจะแต่งงานกัน นายเงินบิดาของนางสาวแก้วไม่ยินยอมให้ถอนคำร้องทุกข์ พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งยุติคดีนายเสียบผู้ต้องหาตามข้อกล่าวหา เพราะเหตุว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในชั้นพนักงานอัยการโดยชอบแล้ว ดังนี้ คำสั่งของพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 48 )

ก. คำสั่งของพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีชอบด้วยกฎหมาย เพราะ น.ส.แก้วถอนคำร้องทุกข์ได้

ข. คำสั่งของพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีชอบด้วยกฎหมาย แต่ต้องให้นายเงินให้ความเห็นชอบ

ค. คำสั่งของพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ น.ส.แก้วถอนคำร้องทุกข์ไม่ได้

ง. คำสั่งของพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสิทธิคดีอาญายังไม่ระงับ

86. นายวิชัยเป็นโจทก์ฟ้องนายวิชาญเป็นจำเลย ในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โดยยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2539 กล่าวหาว่า จำเลยฉ้อโกงเงินของโจทก์ไปจำนวน 100,000 บาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2538 โดยโจทก์ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามท้องที่ที่เกิดเหตุแล้ว ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อโจทก์เข้าเบิกความต่อศาล ทนายจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งเป็นหลักฐานที่โจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยมีหัวหน้าพนักงานสอบสวนรับรองว่าถูกต้องมาถามค้านโจทก์ ซึ่งโจทก์เบิกความยอมรับว่าได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจริง จำเลยส่งสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวต่อศาล เมื่อศาลพิจารณาสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538 ซึ่งเกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ดังนี้ ศาลจะรับฟังสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยนำส่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์ได้หรือไม่(เนติ 48 )

ก. รับฟังได้ และพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์ได้

ข. รับฟังได้ แต่จะพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์ไม่ได้

ค. รับฟังไม่ได้ และพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์ไม่ได้

ง. เป็นดุลยพินิจของศาล

87. ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ โจทก์จะฎีกาต่อไปได้หรือไม่ และหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องต่อไป จำเลยจะฎีกาได้หรือไม่(เนติ 48 )

ก. การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโจทก์ขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ต้องห้ามโจทก์ฎีกา ส่วนกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องต่อไปนั้น จำเลยยังไม่อยู่ฐานะจำเลย จึงฎีกาไม่ได้

ข. การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโจทก์ขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ มิใช่การยกฟ้อง จึงไม่ต้องห้ามโจทก์จะฎีกาต่อไป ส่วนกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องต่อไปนั้น จำเลยฎีกาได้

ค. การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโจทก์ขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ต้องห้ามโจทก์ฎีกา ส่วนกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องต่อไปนั้น จำเลยฎีกาได้

ง. การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโจทก์ขอให้ยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ มิใช่การยกฟ้อง จึงไม่ต้องห้ามโจทก์จะฎีกาต่อไป ส่วนกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องต่อไปนั้น จำเลยยังไม่อยู่ฐานะจำเลย จึงฎีกาไม่ได้

88. จำเลยฎีกาว่า ขอยื่นฎีกาต่อศาล เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำผิดในคดีนี้แต่ประการใด ถึงแม้ในการต่อสู้คดีของจำเลยนั้นพยานและคำให้การของจำเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ก็ตาม แต่จำเลยก็ยืนยันคำให้การเดิมที่ได้ให้การไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ดังนี้ เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 48 )

ก. เป็นฎีกาที่เลื่อนลอย จึงเป็นฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ข. เป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ค. เป็นฎีกาที่ได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

ง. เป็นฎีกาที่ชัดเจน ไม่เคลือบคลุม จึงเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

89. โจทก์ฎีกาว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ยุติตามที่โจทก์นำสืบ ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้ เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 48 )

ก. เป็นฎีกาที่อ้างแต่เพียงลอยๆ จึงเป็นฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ข. เป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ค. เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง จึงเป็นฎีกาที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ง. ถูกทุกข้อ

90. นายดำถูกจับกุมในข้อหาลักทรัพย์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2538 เวลา 23.30 นาฬิกา เจ้าพนักงานผู้จับ นำตัวส่งถึงสถานีตำรวจเวลา 01.30 นาฬิกา ของวันที่ 10 มีนาคม 2538 และถูกควบคุมตัวไว้ทำการสอบสวนตลอดมาจนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2538 นายดำได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยเพราะถูกควบคุมมาเกินสี่สิบแปดชั่วโมง ในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนนำนายดำไปศาลพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายขังนายดำไว้มีกำหนด 12 วัน นับแต่วันที่ 12 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 18 มีนาคม 2538 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น นายดำแถลงคัดค้านว่าพนักงานสอบสวนควบคุมเกินสี่สิบแปดชั่วโมงแล้วไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งขัง ขอให้ยกคำร้อง ศาลไต่สวนคำร้องของนายดำและของพนักงานสอบสวนแล้ว มีคำสั่งยกคำร้องของนายดำและอนุญาตให้หมายขังนายดำไว้ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2538 พนักงานสอบสวนขอให้ศาลปล่อยตัวนายดำ เมื่อนายดำได้รับการปล่อยตัวแล้วก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งยกคำร้องของตนในวันนั้นเอง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการควบคุมที่ผิดกฎหมาย พิพากษากลับแต่นายดำได้รับการปล่อยไปแล้วจึงไม่ต้องสั่งปล่อย ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่(เนติ 48 )

ก. คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการควบคุมนับแต่ที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหาเกินเวลาการควบคุม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ เนื่องจากนายดำได้รับการปล่อยตัวแล้ว สิทธิขอปล่อยย่อมระงับ

ข. คำสั่งศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะการควบคุมนับแต่ที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหา และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย

ค. คำสั่งศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย เพราะการควบคุมนับแต่ที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ เนื่องจากนายดำได้รับการปล่อยตัวแล้ว สิทธิขอปล่อยย่อมระงับ

ง. คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการควบคุมนับแต่ที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหาเกินเวลาการควบคุม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ เนื่องจากนายดำได้รับการปล่อยตัวแล้ว สิทธิขอปล่อยย่อมระงับ

91. คดีอาญาเรื่องหนึ่ง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายเฉี่ยวกับนายตรีในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและในข้อหาหลบหนีไม่แจ้งเหตุ ศาลฟังข้อเท็จจริงว่านายเฉี่ยวจำเลยเป็นลูกจ้างของนายเฉย วันเกิดเหตุนายเฉี่ยวได้ขับรถยนต์กระบะของนายเฉยซึ่งประกันภัยไว้กับบริษัทฉุน จำกัด ไปชนกับรถยนรรทุกสิบล้อของนายเอกซึ่งประกันภัยไว้กับบริษัทโท จำกัด และมีนายตรีเป็นผู้ขับได้รับความเสียหายและเป็นเหตุทำให้นายจัตวาซึ่งนั่งมาในรถได้รับอันตรายสาหัส แล้วหลบหนีไป พิพากษาลงโทษนายเฉี่ยวในความผิดข้อหาหลบหนีไม่แจ้งเหตุตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ส่วนความผิดข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับตรายสาหัส พิพากษายกฟ้อง เพราะพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่านายเฉี่ยวขับรถโดยความประมาทด้วย คดีถึงที่สุด ดังนี้ ถ้าบริษัทโท จำกัด ซึ่งรับช่วงสิทธิจากนายเอกมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายเฉี่ยว นายเฉย และบริษัทฉุน จำกัด แต่บุคคลทั้งสามอ้างว่าศาลพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้วว่านายเฉี่ยวไม่มีความผิด คำพิพากษาจึงผูกพันบริษัทโท จำกัด จะฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ข้ออ้างของนายเฉี่ยว นายเฉย และบริษัทฉุน จำกัด รับฟังได้หรือไม่(เนติ 47)

ก. ข้ออ้างของนายเฉี่ยว นายเฉย และบริษัทฉุน จำกัด รับฟังไม่ได้ เพราะบริษัทโทไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย

ข. ข้ออ้างของนายเฉี่ยว นายเฉย รับฟังไม่ได้ แต่ข้ออ้างของบริษัทฉุน จำกัดรับฟังได้

ค. ข้ออ้างของนายเฉี่ยว บริษัทฉุน จำกัด รับฟังไม่ได้ แต่ข้ออ้างของนายเฉยรับฟังได้

ง. ข้ออ้างของ นายเฉย และบริษัทฉุน จำกัด รับฟังไม่ได้ แต่ข้ออ้างของนายเฉี่ยวรับฟังได้

92. นายอก นางยา เป็นสามีภรรยากัน มีบุตรอายุสองขวบหนึ่งคน และอายุสี่ขวบอีกหนึ่งคน สองสามีภรรยามีอาชีพรับจ้างหาเช้ากินค่ำ ความยากจนขัดสนทำให้สามีภรรยาคู่นี้ทะเลากันเป็นประจำ วันเกิดเหตุนายอดกลับบ้านดึกผิดปกติและดื่มสุรามาก่อนด้วย เมื่อเข้าบ้านก็ถามหาอาหารเย็น นางยาบอกว่าหมดแล้วจะหุงหาให้ นายอดโมโหหิวจึงตรงเข้าเตะทำร้ายนางยาอย่างที่เคยกระทำบ่อย ๆ เมื่อเมาสุรากลับมา นายยาถอยหลังเข้าครัวและหยิบมีดทำครัวแทงสวนไปหนึ่งทีถูกบริเวณท้องนายอด เป็นเหตุให้นายอดถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา นางยาถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับไปดำเนินคดีฐานฆ่าผู้อื่น หลังจากนางยาถูกควบคุมมาจะครบกำหนด พนักงานสอบสวนให้นำนางยาไปศาลและยื่นคำร้องขอฝากขัง อ้างว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จ ศาลอนุญาตตามคำขอ นางยาจึงถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำ ระหว่างที่นางยาถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจก็ดี และที่เรือนจำก็ดี บุตรทั้งสองของนางยาได้ตามมาอยู่ด้วย เพราะนางยาเป็นคนรักบุตรมาก และไม่มีญาติพี่น้องที่จะรับภาระดูแลบุตรตน ดังนี้ ถ้ามีผู้มายื่นหนังสือต่อพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการให้มีการปล่อยตัวนางยาไปก่อนในระหว่างคดี พนักงานอัยการจะมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้ได้หรือไม่อย่างไร(เนติ 47)

ก. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัวนางยาได้ ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 72(2)

ข. พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัวนางยาได้เฉพาะกรณีที่ผู้ต้องหาฝากขังแล้วเท่านั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 72(2)

ค. พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัวนางยาได้ ม ป.วิ.อาญา มาตรา 72(2)

ง. ไม่มีข้อใดถูก

93. นายสิ้นได้ฝากทรัพย์สินไว้กับนายแสบที่ประเทศอิรัก เพื่อนำมาให้ภรรยาของนายสิ้นในประเทศไทย เมื่อนายสิ้นเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้วทราบว่านายแสบมิได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้แก่ภรรยานายสิ้น นายสิ้นจึงไปทวงถามนายแสบที่บ้านนายแสบ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของนายแสบ นายแสบปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์สินของนายสิ้นไว้ นายสิ้นจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบึงกาฬให้ดำเนินคดีแก่นายแสบฐานยักยอกซึ่งมีการสอบสวนโดยชอบแล้วดังนี้ พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดบึงกาฬมีอำนาจฟ้องนายแสบเป็นจำเลยหรือไม่(เนติ 47)

ก. มูลคดียักยอกเกิดขึ้นที่ประเทศอิรัก พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ข. มูลคดียักยอกเกิดขึ้นที่ประเทศอิรัก ต้องให้อัยการสูงสุดสอบสวน อัยการจึงมีอำนาจฟ้อง

ค. มูลคดียักยอกเกิดขึ้นที่ประเทศอิรัก แต่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อ.บึงกาฬ อัยการจึงมีอำนาจฟ้อง

ง. มูลคดียักยอกเกิดขึ้นเมื่อนายแสบปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ ถือว่าเหตุเกิดที่ อ.บึงกาฬ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวน อัยการจึงมีอำนาจฟ้อง

94. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์ โจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ร่วมฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนี้ หากท่านเป็นศาลชั้นต้น จะรับฎีกาของโจทก์ร่วมดังกล่าวหรือไม่

ก. โจทก์ร่วมมีสิทธิฎีกา ศาลชั้นต้น ชอบที่จะรับฎีกาของโจทก์ไว้ได้

ข. แม้โจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้น จะต้องรับฎีกาของโจทก์ร่วมไว้

ค. โจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ จึงไม่มีสิทธิฎีกา ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาของโจทก์ร่วมไม่ได้

ง. โจทก์ร่วมมีสิทธิฎีกา แต่ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาของโจทก์ร่วมไม่ได้ เพราะต้องรอโจกท์ก่อน

95. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงและนายดำว่าร่วมกันลักทรัพย์ นายแดงให้การรับสารภาพ ส่วนนายดำให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายแดงโดยให้โจทก์แยกฟ้องนายดำเป็นคดีใหม่อีกต่างหาย ในคดีที่ฟ้องใหม่นี้นายดำให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาจำคุกนายดำเช่นกัน นายดำอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้หรือไม่

ก. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยไม่ได้ เพราะคนละคดี

ข. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้ เพราะเป็นเหตุลักษณะคดี

ค. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้ เพราะถือว่าเป็นคดีเดียวกันมาก่อน

ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ข้อ ค.

96. ในกรณีตามข้อ 95 ถ้าพนักงานอัยการแยกฟ้องนายแดงและนายดำเป็นคนละคดีกันมาตั้งแต่ต้น แต่นายแดงและนายดำต่างให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีทั้งสองนั้นเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาจำคุกทั้งนายแดงและนายดำ เฉพาะนายดำอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้หรือไม่

ก. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยไม่ได้ เพราะคนละคดี

ข. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้ เพราะเป็นเหตุลักษณะคดี

ค. ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่านายแดงและนายดำกระทำผิด จะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ไปถึงนายแดงที่มิได้อุทธรณ์ด้วยได้ เพราะถือว่าเป็นคดีเดียวกัน

ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ข้อ ค.

97. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายเป็ดเป็นจำเลยว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 เวลากลางวัน จำเลยลักไก่ 1 ตัว ของนายห่าน หรือมิฉะนั้นจำเลยก็รับไก่ตัวดังกล่าวไว้จากคนร้าย โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เหตุรับของโจรเกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 จำเลยรับสารภาพฐานลักทรัพย์ โจทก์และจำเลยไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะคำฟ้องข้อหาลักทรัพย์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) โจทก์อุทธรณ์ว่าคำฟ้องข้อหาลักทรัพย์ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าไม่ชอบ คำฟ้องข้อหารับของโจรก็ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีเป็นเรื่องข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้องโดยจำเลยมิได้หลงต่อสู้หรือเสียเปรียบ ย่อมลงโทษจำเลยข้อหาลักทรัพย์ได้ ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีนี้อย่างไร

ก. ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษายกฟ้องยืนตามศาลชั้นต้น เพราะคำฟ้องเคลือบคลุม

ข. ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษาลงโทษ เพราะจำเลยให้การรับสารภาพ

ค. ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษายกฟ้องยืนตามศาลชั้นต้น เพราะคำฟ้องมิได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์ว่าเป็นสถานที่ใดที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ง. ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษาลงโทษ เพราะข้อหาลักทรัพย์กับรับของโจรเกลื่อนกลืนกันได้

98. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่งพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ขังผู้ต้องหา 12 วัน แต่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขังเพียง 5 วัน ก่อนครบกำหนดพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งขังอีก 12 วัน อันเป็นการขอฝากขังครั้งสุดท้าย แต่ศาลไม่อนุญาต ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกปล่อยตัวไป และพนักงานอัยการยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจไปจับตัวผู้ต้องหามาควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อรอส่งตัวให้พนักงานอัยการในกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง แต่ผู้ต้องหาหลบหนีไปเสียก่อน ต่อมาพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจจึงไปติดตามจับผู้ต้องหามาได้และคุมตัวมาศาลเพื่อมอบให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับผู้ต้องหาและคุมตัวไว้ทั้งสองครั้ง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ก. การจับและการคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนครั้งหลังชอบด้วยกฎหมาย

ข. การจับและการคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกชอบด้วยกฎหมาย ส่วนครั้งหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ค. การจับและการคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนครั้งหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ง. การจับและการคุมตัวผู้ต้องหาครั้งแรกชอบด้วยกฎหมาย ส่วนครั้งหลังชอบด้วยกฎหมาย

99. นายเก่งผู้เสียหายร้องทุกข์ภายในอายุความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่นายกล้าในข้อหายักยอก นายกล้าให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา โดยได้นำใบรับเงินฉบับหนึ่งมามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อแสดงว่านายแก้วซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายเก่งได้ลงลายมือชื่อรับเงินทั้งหมดที่กล่าวหาถูกยักยอกไปจากนายกล้าเรียบร้อยแล้ว และมีนายกลมลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในใบรับเงินนั้นด้วย นายกล้าขอให้พนักงานสอบสวนรับใบรับเงินและสอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบการต่อสู้คดีของตน นายเก่งผู้เสียหายคัดค้านไม่ให้พนักงานสอบสวนรับใบรับเงินและสอบปากคำนายกลมไว้เป็นหลักฐาน โดยอ้างว่าเป็นพยานหลักฐานของฝ่ายนายกล้าผู้ต้องหา ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนจะต้องรวบรวมใบรับเงินดังกล่าวและสอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานประกอบการดำเนินคดีนี้ด้วยหรือไม่

ก. พนักงานสอบสวนรวบรวมใบรับเงินดังกล่าวได้ แต่จะสอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานประกอบการดำเนินคดีไม่ได้

ข. พนักงานสอบสวนจะรวบรวมใบรับเงินดังกล่าวไม่ได้ แต่สอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานประกอบการดำเนินคดีด้วย

ค. พนักงานสอบสวนจะต้องรวบรวมใบรับเงินดังกล่าวและสอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานประกอบการดำเนินคดีด้วย

ง. พนักงานสอบสวนจะรวบรวมใบรับเงินดังกล่าวและสอบปากคำนายกลมไว้เป็นพยานประกอบการดำเนินคดีไม่ได้เด็ดขาด เพราะเป็นพยานฝ่ายผู้ต้องหา

100. นายแดงกับนางขาวอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิงเหลือง อายุ 13 ปี ต่อมานายดำได้หลอกลวงเอาสร้อยคอทองคำ ราคา 3,000 บาท ของเด็กหญิงเหลืองไป นายแดงจึงไปร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่นายดำในความผิดฐานฉ้อโกงเด็กหญิงเหลือง พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องนายดำ ก่อนพนักงานอัยการมีคำสั่งเกี่ยวกับคดีนี้นายแดงได้จดทะเบียนรสกับนางขาว ถ้าท่านเป็นพนักงานอัยการจะสั่งคดีนี้อย่างไร

ก. สั่งไม่ฟ้องนายดำ เพราะนายแดงไม่มีอำนาจร้องทุกข์

ข. สั่งให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติมนายแดง แล้วนำมาประกอบคำฟ้อง

ค. สั่งฟ้องนายดำ พร้อมแนบหลักฐานการจดทะเบียนสมรสต่อศาล

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.

35.

36.

37.

38.

39.

40.

41.

42.

43.

44.

45.

46.

47.

48.

49.

50.

51.

52.

53.

54.

55.

56.

57.

58.

59.

60.

61.

62.

63.

64.

65.

66.

67.

68.

69.

70.

71.

72.

73.

74.

75.

76.

77.

78.

79.

80.

81.

82.

83.

84.

85.

86.

87.

88.

89.

90.

91.

92.

93.

94.

95.

96.

97.

98.

99.

100.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น