หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ ป.วิอาญา ข้อ 1 - 100

แนวข้อสอบนายตำรวจ
วิชา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1. นายดวงเป็นโจทก์ฟ้องนายเด็ดเป็นจำเลยข้อหาฆ่านางเดือนภริยาของนายดวงโดยเจตนาต่อมาพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายดวงศาลอนุญาตแล้ว ในระหว่างพิจารณาคดีปรากฏว่านายดวงและพนักงานอัยการมีความเห็นขัดแย้งกันในการที่จะนำพยานเข้าสืบ ทั้งนายดวงและพนักงานอัยการต่างยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งห้ามอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานบางคนเข้าสืบเพราะเห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย ให้วินิจฉัยว่า นายดวงและพนักงานอัยการจะมีอำนาจดำเนินการได้เพียงใด ( เนติ 56 )

ก. พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามนายดวงนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบได้ เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในนามของแผ่นดินแต่นายดวงไม่มีอำนาจดำเนินการเช่นนั้น

ข. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามนายดวงนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบ เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นโจทก์ร่วม

ค. นายดวงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามพนักงานอัยการนำพยานบางคนที่เห็นว่าจะทำให้คดีของตนเสียหาย มิให้นำเข้าสืบได้ เนื่องจากนายดวงฟ้องคดีก่อน

ง. แล้วแต่ศาลเห็นสมควร เพื่อการยุติธรรม

2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายชวดจำเลยฐานลักรถจักรยาน 1 คัน ราคา 2,000 บาทของนายฉลู กรรมหนึ่ง และฐานยักยอกเครื่องรับวิทยุ 1 เครื่อง ราคา1,000 บาท ของนายฉลู อีกกรรมหนึ่งโดยขอให้นายชวดคืนหรือใช้ราคารถจักรยานและเครื่องรับวิทยุดังกล่าวให้แก่นายฉลู ผู้เสียหายด้วยศาลพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องฐานลักทรัพย์เพราะนายชวดขาดเจตนาทุจริต และยกฟ้องฐานยักยอกเพราะคดีขาดอายุความร้องทุกข์แล้วให้วินิจฉัยว่า ศาลจะสั่งให้นายชวด คืนหรือใช้ราคารถจักรยาน และเครื่องรับวิทยุดังกล่าวให้แก่นายฉลูได้หรือไม่ ( เนติ 56 )

ก. ศาลสั่งไม่ได้ เนื่องจากคดีอาญามีคำพิพากษายกฟ้อง

ข. คดีลักทรัพย์สั่งคืนหรือใช้ราคาได้ ส่วนคดียักยอกสั่งไม่ได้ เพราะอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

ค. คดีลักทรัพย์สั่งคืนหรือใช้ราคาไม่ได้ ส่วนคดียักยอกสั่งได้ เพราะไม่ได้ยกฟ้องในความผิด

ง. ศาลสั่งคืนหรือชดใช้ราคาได้ทั้งสองคดี เพราะคำพิพากษาส่วนอาญาไม่ผูกพันทางแพ่ง

3. นายคดยักยอกเงินของนายซื่อไปจำนวน 500,000 บาท นายซื่อได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายคดไว้แล้วต่อมานายซื่อฟ้องนายคดเป็นคดีอาญาในความผิดฐานยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หากนายซื่อได้ฟ้องนายคดต่อศาลเป็นคดีแพ่งขอให้บังคับนายคดคืนเงินที่ยักยอกไป แล้วต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยนายคดยอมคืนเงินทั้งหมดด้วยการผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดให้บังคับคดีได้ทันทีและนายซื่อไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายคดอีก กรณีนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของนายซื่อระงับไปหรือไม่หรือ ( เนติ 56 )

ก. คดีอาญาระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันแล้วทั้งทางอาญาและทางแพ่ง

ข. คดีอาญาระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันในคดีความผิดต่อส่วนตัว

ค. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะมีการประนีประนอมยอมความกันเฉพาะทางแพ่ง

ง. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะยังไม่มีการถอนคำร้องทุกข์

4. นายคดยักยอกเงินของนายซื่อไปจำนวน 500,000 บาท นายซื่อได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายคดไว้แล้วต่อมานายซื่อฟ้องนายคดเป็นคดีอาญาในความผิดฐานยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หากนายซื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะเหตุได้นำคดีอาญาไปฟ้องเองแล้ว จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของนายซื่อระงับไปหรือไม่ ( เนติ 56 )

ก. คดีอาญาระงับ เพราะมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย

ข. คดีอาญาระงับ เพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัว

ค. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะถอนคำร้องทุกข์หลังจากฟ้องคดีเอง

ง. คดีอาญาไม่ระงับ เพราะคนละกระบวนการยุติธรรม

5. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2547 นายเสียงร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโทแสงว่า นายสีลักแจกันลายครามของนายเสียงไป ร้อยตำรวจโทแสงรับคำร้องทุกข์และทำการสอบสวน นายสีทราบว่ามีผู้กล่าวหาตน จึงเข้าพบร้อยตำรวจโทแสงเพื่อต่อสู้คดี ร้อยตำรวจโทแสงแจ้งข้อหาลักทรัพย์และสอบสวนนายสี นายสีให้การปฏิเสธ ร้อยตำรวจโทแสงจึงให้นายสีทำประกันและวางหลักประกัน แต่นายสีไม่มีหลักประกัน ร้อยตำรวจโทแสงจึงควบคุมตัวนายสีไว้ การควบคุมตัวนายสีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ( เนติ 56 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน

ข. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว

ค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะต้องให้ประกันตัวหรือทำสัญญาประกันตัว

ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ พงส.ไม่มีอำนาจจับกุม จึงจะควบคุมตัวไม่ได้

6. คดีอาญาเรื่องหนึ่ง ความผิดเกิดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำเลยมีที่อยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และหลบหนีไปถูกจับได้ที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองตากทำการสอบสวน เพราะการดำเนินคดีที่อำเภอเมืองตากสะดวกกว่า พนักงานอัยการจังหวัดตากยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดตาก ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดตากขอโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชร เพราะจะได้มีโอกาสติดต่อกับญาติของตนได้โดยสะดวก ระหว่างรอคำสั่งศาลจังหวัดตาก จำเลยได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาคที่มีเขตอำนาจเหนือศาลต่าง นั้นอีก โดยขอโอนคดีดังกล่าวไปพิจารณายังศาลจังหวัดอุทัยธานีโดยจำเลยอ้างว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอิทธิพล อาจมีการขัดขวางต่อการพิจารณาหรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น ให้วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอโอนคดีในกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. โอนคดีได้ แต่จะต้องร้องขอให้โอนคดีไปพิจารณายังศาลที่ความผิดได้เกิดในเขตเท่านั้น คือศาลจังหวัดนครสวรรค์

ข. โอนคดีได้ ทั้งศาลจังหวัดนครสวรรค์ และศาลจังหวัดกำแพงเพชร

ค. โอนคดีได้ เฉพาะศาลจังหวัดกำแพงเพชร

ง. โอนคดีไม่ได้

7. กรณีตามข้อ 6 หากระหว่างรอคำสั่งศาลจังหวัดตาก จำเลยได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาคที่มีเขตอำนาจเหนือศาลต่าง นั้นอีก โดยขอโอนคดีดังกล่าวไปพิจารณายังศาลจังหวัดอุทัยธานีโดยจำเลยอ้างว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอิทธิพล อาจมีการขัดขวางต่อการพิจารณาหรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น ให้วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอโอนคดีในกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. จำเลยขอโอนได้ เพราะอธิบดีผู้พิพากษาภาคมีเขตอำนาจขอให้โอนคดีไปพิจารณายังศาลอื่น

ข. จำเลยขอโอนได้ แต่ต้องมีเหตุผลอื่นประกอบ

ค. จำเลยจะยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาคที่มีเขตอำนาจขอให้โอนคดีไปพิจารณายังศาลจังหวัดอุทัยธานีไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะเท่านั้น

ง. ไม่มีข้อใดถูก

8. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัยและนายรุ่นเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายนายเต๋าผู้เสียหาย ก่อนสืบพยานโจทก์นัดแรก นายเต๋ายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายเต๋าเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ ระหว่างดำเนินคดี นายเต๋าไม่พอใจแนวทางการดำเนินคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของพนักงานอัยการโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่คดี ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้นายเต๋าถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม ต่อมาภายหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จสิ้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี นายเต๋าได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยระบุว่าเพื่อจะใช้สิทธิชั้นอุทธรณ์ฎีกาต่อไป ให้วินิจฉัยว่า นายเต๋าจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังได้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. นายเต๋าจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังอีกไม่ได้ เพราะเป็นการฟ้องซ้อน

ข. นายเต๋าจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังอีกไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 เป็นฟ้องซ้ำ

ค. นายเต๋าจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังอีกได้ เพราะยื่นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษา

ง. นายเต๋าจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในครั้งหลังอีกได้ เพราะใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย

9. นายหนึ่งอายุ 17 ปีบริบูรณ์ในขณะที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป พันตำรวจโทสมศักดิ์ พนักงานสอบสวนคดีนี้ได้สอบสวนนายหนึ่งผู้ต้องหาโดยมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนปากคำนายหนึ่งผู้ต้องหาด้วย ต่อมาปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องนายหนึ่งเป็นจำเลยต่อศาล นายหนึ่งมีอายุเกิน 18 ปีแล้ว ให้วินิจฉัยว่า การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ข. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ค. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

ง. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

10. . โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงประทุษร้ายผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนถูกที่บริเวณศีรษะ 2 แผล แต่แพทย์รักษาบาดแผลได้ทัน ผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายเพียงได้รับอันตรายสาหัสประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบอ้างฐานที่อยู่ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่จำเลยเจตนาทำร้ายโดยใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความ ได้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. ลงโทษได้ เพราะจำเลยไม่หลงต่อสู้

ข. ลงโทษได้ เพราะแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ

ค. ลงโทษไม่ได้ เพราะเกินคำขอ

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

11. คดีอาญาเรื่องหนึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง 2 กระทง ฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นให้ประหารชีวิต และฐานข่มขืนกระทำชำเราจำคุก 9 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นแล้วฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง แต่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ พิพากษาแก้เป็นว่าลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นให้จำคุกตลอดชีวิต และในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราจำคุก 6 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ให้วินิจฉัยว่า จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องได้หรือไม่ ( เนติ 55 )

ก. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นให้ประหารชีวิตฎีกาได้ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราฎีกาไม่ได้

ข. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นให้ประหารชีวิตฎีกาไม่ได้ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราฎีกาได้

ค. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นและความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราฎีกาไม่ได้

ง. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นและความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราฎีกาได้

12. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2546 นายแดงร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจเอกสมคิดว่า นายดำฉ้อโกงทรัพย์ของนายแดงร้อยตำรวจเอกสมคิดรับคำร้องทุกข์ไว้ ต่อมาอีก 5 วัน นายแดงพบนายดำที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง จึงบอกสิบตำรวจเอกผดุงซึ่งรักษาการณ์อยู่บริเวณนั้นให้จับกุมนายดำโดยแจ้งว่าได้ร้องทุกข์นายดำในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงไว้แล้ว สิบตำรวจเอกผดุงจึงจับนายดำแล้วนำส่งร้อยตำรวจเอกสมคิดควบคุมตัวไว้ ให้วินิจฉัยว่า การที่ร้อยตำรวจเอกสมคิดควบคุมตัวนายดำไว้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 55 )

ก. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134

ข. ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจับและการควบคุม เป็นอำนาจของแต่ละส่วน

ค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134

ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจับกุมไม่ชอบ

13. นายหนึ่งยักยอกเงินของนายสองไปจำนวน 1,000,000 บาท วันรุ่งขึ้นนายสองทราบเรื่อง จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่นายหนึ่งในวันนั้นเอง ต่อมาอีก 2 เดือน นายสองถึงแก่ความตาย นายสามซึ่งเป็นบุตรของนายสองได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนายสอง กรณีดังกล่าวนายสามยื่นฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกเงินของนายสอง ดังนี้นายสามมีอำนาจฟ้องนายหนึ่ง หรือไม่ (เนติ 57 )

ก. มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นกรณีรับมรดกความ

ข. มีอำนาจฟ้อง เพราะถือว่านายสามเป็นผู้เสียหาย

ค. ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะนายสองไม่ได้ฟ้องคดีไว้ก่อน

ง. ไม่มีอำนาจฟ้อง ต้องอาศัยพนักงานอัยการฟ้องคดีให้ เพราะมีการร้องทุกข์แล้ว

14. ตามข้อ 13. พนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลตามคำร้องทุกข์ของนายสองภายในอายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกแล้ว ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายสามขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล ให้วินิจฉัยว่า นายสามมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์หรือไม่ (เนติ 57 )

ก. สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานยักยอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่นายสามซึ่งเป็นทายาท นายสามย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้

ข. นายสามถือว่าเป็นผู้เสียหาย นายสามย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้

ค. ไม่ได้ เพราะคดีนี้ ถือว่าพนักงานอัยการเป็นผู้เสียหาย

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

15. การเปรียบเทียบคดีอาญาโดยพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีหลักเกณฑ์อย่างไร (เนติ 57 )

ก. การเปรียบเทียบคดีอาญาโดยพนักงานสอบสวนมีหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 38 ว่า ในคดีความผิดตามมาตรา 37 (2) ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา38 (1) (2)

ข. การเปรียบเทียบคดีอาญาโดยพนักงานอัยการมีหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 144 ว่าในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องถ้าความผิดนั้นเป็นความซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ และพนักงานอัยการเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบคดีได้ตามมาตรา 144 (1) (2)การเปรียบเทียบโดยพนักงานสอบสวนก็ดี พนักงานอัยการก็ดี มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (3)

ค. พนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการมีอำนาจเช่นเดียวกัน

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

16. การเปรียบเทียบคดีอาญาโดยพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีผลแตกต่างกันอย่างไร (เนติ 57 )

ก. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเท่านั้นที่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีนั้นได้ ส่วนกรณีที่พนักงานอัยการสั่งให้เปรียบเทียบนั้น อาจให้พนักงานสอบสวนท้องที่เดิมหรือท้องที่อื่นทำการเปรียบเทียบก็ได้

ข. การเปรียบเทียบโดยพนักงานสอบสวนเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจโต้แย้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนได้ ส่วนการเปรียบเทียบโดยพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนต้องพยายามเปรียบเทียบคดีนั้นตามคำสั่งของพนักงานอัยการ โดยไม่มีอำนาจโต้แย้ง เพราะเป็นดุลพินิจของพนักงานอัยการ

ค. พนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการมีอำนาจเช่นเดียวกัน

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

17. นายเด็ดกระทำความผิดอาญาฐานหนึ่ง พนักงานสอบสวนดำเนินคดีพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถเปรียบเทียบได้ และนายเด็ดเป็นนักศึกษากระทำความผิดเป็นครั้งแรก น่าจะกลับตนเป็นคนดีได้ ไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก จึงทำการเปรียบเทียบนายเด็ดเสร็จสิ้นแล้ว นายเด็ดได้ใจคิดว่าเจ้าพนักงานตำรวจเกรงใจบิดาตน ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพล ได้กระทำความผิดฐานเดียวกันและพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบอีกสองครั้ง ต่อมานายเด็ดกระทำความผิดคดีเช่นนั้นอีก พนักงานสอบสวนเห็นว่านายเด็ดไม่เข็ดหลาบ จึงทำการสอบสวนโดยไม่เปรียบเทียบคดีนั้นอีกแล้วสรุปสำนวน มีความเห็นควรสั่งฟ้องนายเด็ด แล้วส่งสำนวนต่อพนักงานอัยการ พนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่านายเด็ดกระทำความผิดจริง แต่นายเด็ดเป็นนักศึกษาปีสุดท้าย ถ้าฟ้องต่อศาลอาจถูกจำคุกเสียอนาคตได้ ควรให้ความปรานีโดยการเปรียบเทียบดังนี้ พนักงานอัยการจะต้องดำเนินการอย่างไร และพนักงานสอบสวนจะโต้แย้งคัดค้านได้หรือไม่ (เนติ 57 )

ก. พนักงานอัยการจะต้องมีคำสั่งฟ้องนายเด็ดและส่งสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบคดีนี้ ตามมาตรา 144 (2) พนักงานสอบสวนต้องพยายามเปรียบเทียบคดีนี้ตามคำสั่งของพนักงานอัยการโดยไม่มีอำนาจโต้แย้งดุลพินิจของพนักงานอัยการ

ข. พนักงานอัยการจะต้องส่งสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบคดีนี้ ตามมาตรา 144 (2) พนักงานสอบสวนต้องพยายามเปรียบเทียบคดีนี้ตามคำสั่งของพนักงานอัยการโดยไม่มีอำนาจโต้แย้งดุลพินิจของพนักงานอัยการ

ค. พนักงานอัยการจะต้องมีคำสั่งฟ้องนายเด็ดต่อศาลเท่านั้น หากพนักงานอัยการส่งสำนวนคืน พนักงานสอบสวนสามารถโต้แย้งดุลพินิจของพนักงานอัยการได้

ง. พนักงานอัยการจะต้องมีคำสั่งฟ้องนายเด็ดต่อศาลเท่านั้น หากพนักงานอัยการส่งสำนวนคืน พนักงานสอบสวนไม่สามารถโต้แย้งดุลพินิจของพนักงานอัยการได้

18. พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกนายจักรและนายชัยให้ไปพบเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีมีข้อสงสัยว่าจะพัวพันกับการกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น จากการสืบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น พนักงานสอบสวนเห็นว่ายังไม่สมควรดำเนินคดีแก่นายจักรในความผิดดังกล่าว แต่ได้แจ้งข้อหาและสอบสวนนายชัยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องในความผิดดังกล่าว แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายชัย ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า กรณีนายจักร หากต่อมาพนักงานสอบสวนพิจารณาจากพยานหลักฐานที่มีอยู่เดิมเห็นควรสอบสวนในเรื่องเดียวกัน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนนายจักรได้หรือไม่ (เนติ 57 )

ก. ไม่มีอำนาจสอบสวน ต้องห้ามตามมาตรา 147

ข. ไม่มีอำนาจสอบสวน ต้องห้ามตามมาตรา 147 เพราะคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว

ค. มีอำนาจสอบสวน เนื่องจาก พนักงานสอบสวนยังมิได้สอบสวนดำเนินคดีแก่นายจักรเลย และมิใช่กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายจักรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 มาตรา 146 จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 147 ที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนนายจักรในเรื่องนั้นอีก

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

19. ตามข้อ 18. กรณีนายชัย หลังจากพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนพบว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษนายชัยได้ จึงได้สอบสวนนายชัยอีกแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายชัยในข้อหาเดิม แต่พนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวยังมิใช่หลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่สอง ครั้นต่อมา ภายในอายุความคดีอาญา พนักงานสอบสวนได้พบพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษได้อีกครั้งหนึ่ง จึงได้สอบสวนนายชัยเป็นครั้งที่สามดังนี้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนนายชัยได้อีกหรือไม่ (เนติ 57 )

ก. ไม่มีอำนาจสอบสวน ต้องห้ามตามมาตรา 147

ข. ไม่มีอำนาจสอบสวน ต้องห้ามตามมาตรา 147 เพราะคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว

ค. มีอำนาจสอบสวน แม้พนักงานอัยการจะเคยมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายชัยในเรื่องเดียวกันมาแล้ว 2 ครั้ง แต่การมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนั้นไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 ดังนั้น หากต่อมามีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษนายชัย พนักงานสอบสวนก็ย่อมมีอำนาจสอบสวนนายชัยในเรื่องเดียวกันนั้นได้อีกภายในอายุความ ตามมาตรา 147

ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

20. จำเลยขับรถยนต์โดยสารพลิกคว่ำเป็นเหตุให้นายโทถึงแก่ความตายและนายดำได้รับอันตรายสาหัสต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2548 นางระทมมารดาของนายโทได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้นายโทถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 สำนวนหนึ่ง และนายดำได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้นายดำได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อีกสำนวนหนึ่งศาลสั่งรวมพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน และไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลจึงให้ประทับฟ้องทั้งสองสำนวนข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่หลบหนีคดีไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็เข้ามอบตัวต่อสู้คดี ก่อนเริ่มพิจารณา ศาลสอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จำเลยแถลงว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จำเลย จำเลยให้การปฏิเสธทั้งสองสำนวน ศาลมีคำสั่งกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยาน โดยแจ้งให้คู่ความทุกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน 7 วัน ครั้นถึงวันตรวจพยานหลักฐาน นางระทมมาศาล แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน ส่วนนายดำทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลเห็นว่าเมื่อนางระทมมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เท่ากับไม่มีพยานมาสืบจึงพิพากษายกฟ้องของนางระทม ส่วนนายดำไม่มาศาลในวันตรวจพยานหลักฐาน จึงให้ยกฟ้องของนายดำด้วย ให้วินิจฉัยว่าศาลพิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (เนติ 57 )

ก. ชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง เพราะจำเลยอายุเกิน 18 ปีในวันฟ้องแล้ว

ข. ชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง เพราะศาลถามก่อนเริ่มคดี

ค. ไม่ชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง เพราะจำเลยอายุไม่เกิน 18 ปีในวันกระทำผิด

ง. ไม่ชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง เพราะคดีมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายให้

21. จำเลยขับรถยนต์โดยสารพลิกคว่ำเป็นเหตุให้นายโทถึงแก่ความตายและนายดำได้รับอันตรายสาหัสต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2548 นางระทมมารดาของนายโทได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้นายโทถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 สำนวนหนึ่ง และนายดำได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้นายดำได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อีกสำนวนหนึ่งศาลสั่งรวมพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน และไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลจึงให้ประทับฟ้องทั้งสองสำนวนข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่หลบหนีคดีไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็เข้ามอบตัวต่อสู้คดี ก่อนเริ่มพิจารณา ศาลสอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จำเลยแถลงว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จำเลย จำเลยให้การปฏิเสธทั้งสองสำนวน ศาลมีคำสั่งกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยาน โดยแจ้งให้คู่ความทุกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน 7 วัน ครั้นถึงวันตรวจพยานหลักฐาน นางระทมมาศาล แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน ส่วนนายดำทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลเห็นว่าเมื่อนางระทมมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เท่ากับไม่มีพยานมาสืบจึงพิพากษายกฟ้องของนางระทม ส่วนนายดำไม่มาศาลในวันตรวจพยานหลักฐาน จึงให้ยกฟ้องของนายดำด้วย ให้วินิจฉัยว่าศาลพิพากษายกฟ้องของนางระทมและของนายดำชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (เนติ 57 )

ก. ชอบ เพราะศาลแจ้งให้คู่ความทุกฝ่ายทราบล่วง ตามมาตรา173/2 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 166

ข. ชอบ เฉพาะกรณีของนางระทม ส่วนกรณีของนายดำ ไม่ชอบ

ค. ไม่ชอบ เฉพาะกรณีของนางระทม ส่วนกรณีของนายดำ ชอบ

ง. ไม่ชอบ เพราะศาลแจ้งให้คู่ความทุกฝ่ายทราบล่วงหน้าเพียง 7 วัน ซึ่งศาลต้องแจ้งไม่น้อยกว่า 14 วัน มาตรา 173/2 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166

22. สิบตำรวจเอกธรรมเดินผ่านบ้านของนายแดง เมื่อเวลาประมาณ 13 นาฬิกา เห็นนายขาวกำลังใช้มีดดาบฟันนายเขียวหลายครั้งในบ้านของนายแดง จึงเข้าไปในบ้านเพื่อจับนายขาว โดยยังไม่ได้รับความยินยอมจากนายแดงสิบตำรวจเอกธรรมได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมนายขาว นายขาวได้ต่อสู้ขัดขวางการจับกุมสิบตำรวจเอกธรรมเข้าจับนายขาวไว้ได้โดยไม่ทันแจ้งแก่นายขาวว่าเขาต้องถูกจับ แล้วนำตัวนายขาวส่งสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่ทำการจับ นายขาวต่อสู้ว่า การค้นและการจับไม่ชอบให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายขาวฟังขึ้นหรือไม่ (เนติ 57 )

ก. สิบตำรวจเอกธรรมไม่มีอำนาจค้นบ้านของนายแดงอันเป็นที่รโหฐาน แต่ขณะจะเข้าจับกุมนายขาวได้ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม สิบตำรวจเอกธรรมจึงไม่จำต้องแจ้งแก่นายขาวว่านายขาวต้องถูกจับตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ข้อต่อสู้ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ข. สิบตำรวจเอกธรรมย่อมเข้าไปในบ้านของนายแดงอันเป็นที่รโหฐานเพื่อจับกุมนายขาวได้ เพราะมีการกระทำผิดซึ่งหน้า เข้าข้อยกเว้น โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากนายแดงเจ้าของบ้านก่อน แต่การจับกุมนายขาวไม่ชอบ เพราะสิบตำรวจเอกธรรมต้องแจ้งแก่นายขาวก่อนถูกจับตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ข้อต่อสู้ฟังขึ้น

ค. สิบตำรวจเอกธรรมย่อมเข้าไปในบ้านของนายแดงอันเป็นที่รโหฐานเพื่อจับกุมนายขาวได้ เพราะมีการกระทำผิดซึ่งหน้า เข้าข้อยกเว้น โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากนายแดงเจ้าของบ้านก่อน ขณะจะเข้าจับกุมนายขาวได้ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม สิบตำรวจเอกธรรมจึงไม่จำต้องแจ้งแก่นายขาวว่านายขาวต้องถูกจับตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ข้อต่อสู้ฟังไม่ขึ้น

ง. สิบตำรวจเอกธรรมไม่มีอำนาจค้นบ้านของนายแดงอันเป็นที่รโหฐาน และการจับกุมนายขาวไม่ชอบ เพราะสิบตำรวจเอกธรรมต้องแจ้งแก่นายขาวก่อนถูกจับตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง ข้อต่อสู้ฟังขึ้น

23. นายชัยกับนายชอบทะเลาะวิวาทกัน นายชัยชกที่ใบหน้านายชอบ 1 ครั้ง นายชอบโกรธจึงใช้อาวุธปืนยิงนายชัย 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายชัย แต่พลาดไปถูกนางเพลินภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของนายเฟื่องถึงแก่ความตาย นายชัยและนายชอบต่างไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีซึ่งกันและกัน นายชัยให้การรับสารภาพว่าได้ทำร้ายนายชอบจริง พนักงานอัยการจึงแยกฟ้องนายชัยในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับนายชัย 500 บาท คดีถึงที่สุด ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องนายชอบในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นและฆ่าผู้อื่น นายชอบให้การปฏิเสธ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายชัยและนายเฟื่องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 58 )

ก. กรณีนายชัยไม่ชอบ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง กรณีนายเฟื่องไม่ชอบเพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทน

ข. กรณีนายชัยชอบ เพราะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง กรณีนายเฟื่องชอบเพราะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน

ค. กรณีนายชัยไม่ชอบ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง กรณีนายเฟื่องชอบเพราะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน

ง. กรณีนายชัยชอบ เพราะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง กรณีนายเฟื่องไม่ชอบเพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทน

24. นายสมศักดิ์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่นายสัมพันธ์ ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน ระหว่างการสอบสวน นายสัมพันธ์ทราบว่าตนถูกกล่าวหา จึงเข้าหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ปากคำ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถานและสอบคำให้การของนายสัมพันธ์ไว้ในฐานะผู้ต้องหาโดยปรากฏว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าต้องหาได้กระทำผิดก่อนแจ้งข้อหาให้ทราบ กรณีนี้การสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ (เนติ 58 )

ก. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ข. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ค. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

ง. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

25. ตามข้อ 24 หากก่อนถามคำให้การ พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่าผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำได้ ให้วินิจฉัยว่า การที่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการดังกล่าวการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ (เนติ 58 )

ก. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ข. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ค. การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

ง. การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

26. สิบตำรวจโทยงยุทธเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอ่างทอง ได้ออกตรวจท้องที่พบนายชดมีท่าทางพิรุธจึงเข้าทำการตรวจค้น นายชดเกรงว่าสิบตำรวจโทยงยุทธจะตรวจพบยาบ้าที่อยู่ในกระเป๋ากางเกง จึงชักอาวุธปืนยิงสิบตำรวจโทยงยุทธแต่ไม่ถูก สิบตำรวจโทยงยุทธจึงชกนายชดถูกบริเวณปลายคางเป็นเหตุให้นายชดล้มลงศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตาย กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธ พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยแจ้งข้อกล่าวหาว่าทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย แต่เห็นว่าพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า สิบตำรวจโทยงยุทธได้ปฏิบัติตามหน้าที่และป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ส่วนกรณีของนายชด พนักงานสอบสวนเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้ว จึงเสนอความเห็นควรสั่งยุติคดี จากนั้นพนักงานสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็นทั้งสองกรณีไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาต่อไปให้วินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการส่งสำนวนการสอบสวนทั้งสองกรณีนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (เนติ 58 )

ก. กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธเป็นผู้ต้องหา ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 143วรรคท้าย บัญญัติว่า ในคดีฆาตกรรมซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่วนกรณีนายชดเป็นผู้ต้องหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะต้องส่งสำนวนเป็นคดีอาญาทั่วไปซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่พิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง

ข. กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธเป็นผู้ต้องหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ป.วิ.อาญา มาตรา 143วรรคท้าย บัญญัติว่า ในคดีฆาตกรรมซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องดังนั้น การส่งสำนวนไปให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา143 วรรคท้าย เพื่อพิจารณาออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องจะต้องเป็นคดีฆาตกรรม คือความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเท่านั้น แต่กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธถูกกล่าวหาว่าทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จึงมิใช่คดีฆาตกรรม ส่วนกรณีนายชดเป็นผู้ต้องหา ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกัน

ค. กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธเป็นผู้ต้องหา ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ป.วิ.อาญา มาตรา 143วรรคท้าย บัญญัติว่า ในคดีฆาตกรรมซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่วนกรณีนายชดเป็นผู้ต้องหา ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกัน

ง. กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธเป็นผู้ต้องหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ป.วิ.อาญา มาตรา 143วรรคท้าย บัญญัติว่า ในคดีฆาตกรรมซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตายหรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องดังนั้น การส่งสำนวนไปให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนตามมาตรา143 วรรคท้าย เพื่อพิจารณาออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องจะต้องเป็นคดีฆาตกรรม คือความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเท่านั้น แต่กรณีของสิบตำรวจโทยงยุทธถูกกล่าวหาว่าทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จึงมิใช่คดีฆาตกรรม ส่วนกรณีนายชดเป็นผู้ต้องหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะต้องส่งสำนวนเป็นคดีอาญาทั่วไปซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่พิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง

27. พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว หากข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏด้วยว่า ในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยทั้งสามในข้อหาความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามที่พิจารณาได้ความมาก่อนเลย ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้หรือไม่ (เนติ 58 )

ก. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ เพราะถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ

ข. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยทั้งสามต่างนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ จึงมิใช่เป็นการหลงต่อสู้ไม่

ค. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ แม้ว่าที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยทั้งสามในข้อหาฐานร่วมกันฉ้อโกงมาก่อนเลยนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการนำคดีในข้อหาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 120 เท่านั้น หาเป็นการตัดอำนาจศาลที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องตามมาตรา 192 วรรคสอง ประกอบวรรคสามไม่

ง. ถูกทุกข้อ

28. ตามข้อ 27. หากพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีนี้โดยมิได้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้หรือไม่ (เนติ 58 )

ก. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามไม่ได้ เพราะคดีนี้มิได้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ กรณีจึงไม่มีเงื่อนไขตามกฎหมายที่จะทำให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี จะมีอำนาจสอบสวน ฟ้องร้อง หรือพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ ดังนั้น แม้ข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงที่พิจารณาได้ความจะไม่แตกต่างจากฟ้องฐานปล้นทรัพย์ในสาระสำคัญ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกงตามที่พิจารณาได้ความได้

ข. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ เพราะถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ

ค. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยทั้งสามต่างนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ จึงมิใช่เป็นการหลงต่อสู้ไม่

ง. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ แม้ว่าที่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยทั้งสามในข้อหาฐานร่วมกันฉ้อโกงมาก่อนเลยนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการนำคดีในข้อหาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 120 เท่านั้น หาเป็นการตัดอำนาจศาลที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องตามมาตรา 192 วรรคสอง ประกอบวรรคสามไม่

29. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษและจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 5 ปีให้วินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และจำเลยจะฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องได้หรือไม่(เนติ 58 )

ก. ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ เพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ขึ้นมา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้ เป็นจำคุก 5 ปี เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญามาตรา 212 กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม จำคุก 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษถือว่าเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

ข. ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ขึ้นมาก็ตามเพราะการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 195 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้ เป็นจำคุก 5 ปี ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 212 กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม จำคุก 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษถือว่าเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

ค. ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ขึ้นมาก็ตามเพราะการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 195 วรรคสอง แต่ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้ เป็นจำคุก 5 ปี เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญามาตรา 212 กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม จำคุก 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษถือว่าเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

ง. ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ขึ้นมาก็ตามเพราะการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 195 วรรคสอง แต่ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้ เป็นจำคุก 5 ปี เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญามาตรา 212 กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม จำคุก 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษถือว่าเป็นการแก้ไขมาก ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

30. พันตำรวจตรีเสือพนักงานสอบสวนซึ่งนั่งดูโทรทัศน์วงจรปิดถ่ายทอดคูหาเลือกตั้งอยู่บนสถานีตำรวจได้เห็นนายช้างกำลังฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในหน่วยเลือกตั้ง จึงโทรศัพท์สั่งให้จ่าสิบตำรวจหมูไปเชิญนายช้างมาพบ จ่าสิบตำรวจหมูเข้าไปทำการจับนายช้างโดยแจ้งว่าต้องถูกจับ แจ้งข้อกล่าวหาว่าทำความเสียหายต่อบัตรเลือกตั้งซึ่งมีความผิดต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท และแจ้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกจับตามกฎหมาย ทั้งได้ทำการค้นพบบัตรเลือกตั้งที่ถูกฉีกอยู่ในกระเป๋าเสื้อของนายช้าง จึงยึดไว้เป็นของกลางแล้วพานายช้างไปมอบให้พันตำรวจตรีเสือพร้อมของกลาง พันตำรวจตรีเสือถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวนายช้างแล้วแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าได้กระทำผิดและแจ้งข้อหาให้ทราบ และเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่านายช้างจะหลบหนี จึงสั่งให้นายช้างไปศาลเพื่อที่จะขอให้ศาลออกหมายขังโดยทันทีให้วินิจฉัยว่า การดำเนินการข้างต้นของพันตำรวจตรีเสือและจ่าสิบตำรวจหมู ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(เนติ 58 )

ก. พันตำรวจตรีเสือในฐานะพนักงานสอบสวน มีอำนาจเชิญหรือให้บุคคลอื่นเชิญนายช้างมาพบ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 52 วรรคหนึ่ง กรณีจ่าสิบตำรวจหมูจับนายช้างนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และ ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) เพราะนายช้างมิได้กระทำผิดซึ่งหน้าจ่าสิบตำรวจหมูผู้จับ และไม่มีเหตุตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (3) เมื่อการจับไม่ชอบแล้ว จ่าสิบตำรวจหมูจึงไม่มีอำนาจค้นตัวนายช้างและยึดบัตรเลือกตั้งที่ถูกฉีกไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่งส่วนกรณีพันตำรวจตรีเสือสั่งให้นายช้างไปศาลเพื่อขอหมายขังนั้น ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคห้า เพราะการจับนายช้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือได้ว่านายช้างไม่ใช่ผู้ถูกจับและไม่ใช่ผู้ถูกควบคุม ทั้งยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่มีเหตุที่จะออกหมายขังตาม ป.วิ.อาญามาตรา 71 และมาตรา 66 (2) ได้

ข. พันตำรวจตรีเสือในฐานะพนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเชิญหรือให้บุคคลอื่นเชิญนายช้างมาพบ แต่ต้องใช้การออกหมายเรียกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 52 วรรคหนึ่ง กรณีจ่าสิบตำรวจหมูจับนายช้างนั้น ชอบ เพราะปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน และจ่าสิบตำรวจหมูจึงมีอำนาจค้นตัวนายช้างและยึดบัตรเลือกตั้งที่ถูกฉีกไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่งส่วนกรณีพันตำรวจตรีเสือสั่งให้นายช้างไปศาลเพื่อขอหมายขังนั้น ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคห้า เพราะการจับนายช้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือได้ว่านายช้างไม่ใช่ผู้ถูกจับและไม่ใช่ผู้ถูกควบคุม ทั้งยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่มีเหตุที่จะออกหมายขังตาม ป.วิ.อาญามาตรา 71 และมาตรา 66 (2) ได้

ค. พันตำรวจตรีเสือในฐานะพนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเชิญหรือให้บุคคลอื่นเชิญนายช้างมาพบ แต่ต้องใช้การออกหมายเรียกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 52 วรรคหนึ่ง กรณีจ่าสิบตำรวจหมูจับนายช้างนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และ ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) เพราะนายช้างมิได้กระทำผิดซึ่งหน้าจ่าสิบตำรวจหมูผู้จับ และไม่มีเหตุตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (3) เมื่อการจับไม่ชอบแล้ว จ่าสิบตำรวจหมูจึงไม่มีอำนาจค้นตัวนายช้างและยึดบัตรเลือกตั้งที่ถูกฉีกไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง ส่วนกรณีพันตำรวจตรีเสือสั่งให้นายช้างไปศาลเพื่อขอหมายขังนั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคห้า เพราะการจับนายช้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือได้ว่านายช้างไม่ใช่ผู้ถูกจับและไม่ใช่ผู้ถูกควบคุม ทั้งยังไม่ได้มีการออกหมายจับอีกด้วย ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 71 และมาตรา 66 (2)

ง. พันตำรวจตรีเสือในฐานะพนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเชิญหรือให้บุคคลอื่นเชิญนายช้างมาพบ แต่ต้องใช้การออกหมายเรียกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 52 วรรคหนึ่ง กรณีจ่าสิบตำรวจหมูจับนายช้างนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และ ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) เพราะนายช้างมิได้กระทำผิดซึ่งหน้าจ่าสิบตำรวจหมูผู้จับ และไม่มีเหตุตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (3) เมื่อการจับไม่ชอบแล้ว จ่าสิบตำรวจหมูจึงไม่มีอำนาจค้นตัวนายช้างและยึดบัตรเลือกตั้งที่ถูกฉีกไว้เป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่งส่วนกรณีพันตำรวจตรีเสือสั่งให้นายช้างไปศาลเพื่อขอหมายขังนั้น ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคห้า เพราะการจับนายช้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือได้ว่านายช้างไม่ใช่ผู้ถูกจับและไม่ใช่ผู้ถูกควบคุม ทั้งยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่มีเหตุที่จะออกหมายขังตาม ป.วิ.อาญามาตรา 71 และมาตรา 66 (2) ได้

31. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 500,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้อง เมื่อถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินคืนโจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 500,000 บาท คืนแก่โจทก์จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์จริงแต่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงิน 500,000 บาท คืนแก่โจทก์แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 จะได้นำสืบพยานต่อไป จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันสืบพยานชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ปรากฏว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จ จำเลยที่ 1 แถลงไม่สืบพยานให้วินิจฉัยว่า ศาลชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามฟ้องหรือไม่(เนติ 58 )

ก. ศาลชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิด เพราะจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จริงและจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่นำสืบในประเด็นชำระเงิน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สืบพยาน ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน กรณีของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

ข. ศาลชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 รับผิด เพราะจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จริงและจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่นำสืบในประเด็นชำระเงิน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สืบพยาน ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน และจำเลยที่ 2 ก็ขาดนัด

ค. ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เพราะสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงฟังไม่ได้

ง. ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชอบที่จะพิพากษาให้รับผิด เพราะขาดนัด ไม่มีพยานมาสืบ

32. คดีอาญาเรื่องหนึ่งซึ่งจำเลยให้การต่อสู้คดี หลังจากพนักงานอัยการโจทก์และจำเลยนำสืบพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว ศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ส่งบันทึกคำให้การพยานโจทก์ที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนแก่ศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยคดี และนัดฟังคำพิพากษาหลังจากนั้น 7 วัน โจทก์คัดค้านว่าศาลไม่มีอำนาจเรียกเอกสารดังกล่าว เพราะศาลมีอำนาจเรียกได้แต่สำนวนการสอบสวนเท่านั้น ส่วนจำเลยก็คัดค้านเช่นกันว่าการที่ศาลสั่งเช่นนั้นเท่ากับเป็นการสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม จึงต้องกระทำต่อหน้าจำเลยและต้องให้จำเลยมีโอกาสนำสืบพยานหลักฐานหักล้างด้วยให้วินิจฉัยว่า คำคัดค้านของโจทก์และจำเลยดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่(เนติ 58 )

ก. ป.วิ.อาญา มาตรา 175 ไม่ให้ศาลมีอำนาจเรียก ข้อคัดค้านของโจทก์จึงฟังขึ้น สำหรับข้อคัดค้านของจำเลยนั้น การที่ศาลใช้อำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนตามมาตรา 175 มิใช่การพิจารณาหรือการสืบพยานในศาล ทั้งมิใช่การสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามมาตรา 228 จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลย และไม่จำต้องให้จำเลยถามค้านหรือนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างแต่อย่างใด คำคัดค้านของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น

ข. ป.วิ.อาญา มาตรา 175 ให้ศาลมีอำนาจเรียกได้ ข้อคัดค้านของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น สำหรับข้อคัดค้านของจำเลยนั้น การที่ศาลใช้อำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนตามมาตรา 175 เป็นการพิจารณาหรือการสืบพยานในศาล และสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามมาตรา 228 จึงต้องทำต่อหน้าจำเลย และต้องให้จำเลยถามค้านหรือนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างแต่อย่างใด คำคัดค้านของจำเลยจึงฟังขึ้น

ค. ป.วิ.อาญา มาตรา 175 ให้ศาลมีอำนาจเรียกได้ ข้อคัดค้านของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น สำหรับข้อคัดค้านของจำเลยนั้น การที่ศาลใช้อำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนตามมาตรา 175 มิใช่การพิจารณาหรือการสืบพยานในศาล ทั้งมิใช่การสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามมาตรา 228 จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลย และไม่จำต้องให้จำเลยถามค้านหรือนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างแต่อย่างใด คำคัดค้านของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

ง. ป.วิ.อาญา มาตรา 175 ไม่ให้ศาลมีอำนาจเรียก ข้อคัดค้านของโจทก์จึงฟังขึ้น สำหรับข้อคัดค้านของจำเลยนั้น การที่ศาลใช้อำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนตามมาตรา 175 เป็นการพิจารณาหรือการสืบพยานในศาล และสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามมาตรา 228 จึงต้องทำต่อหน้าจำเลย และต้องให้จำเลยถามค้านหรือนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างแต่อย่างใด คำคัดค้านของจำเลยจึงฟังขึ้นเช่นกัน

33. นายเขียว นายจ้อย และนายแก้วเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทสามสหาย จำกัด วันหนึ่งนายแก้วซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้ลงรายการเท็จในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและทำปลอมทะเบียนผู้ถือหุ้น นายเขียวจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่นายแก้วในข้อหาปลอมเอกสาร พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายแก้วในความผิดฐานปลอมเอกสารต่อศาล ต่อมานายเขียวได้ยื่นฟ้องนายแก้วต่อศาลในความผิดฐานเดียวกันวันที่ 16 มกราคม 2549 นายเขียวยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยไม่ได้ระบุว่าถอนฟ้องเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลอนุญาต ต่อมาวันที่ 15 ธันวาคม 2549 นายเขียวและนายจ้อยต่างยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่นายแก้วเป็นจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารดังกล่าว ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของนายเขียวและนายจ้อยให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชอบหรือไม่ (เนติ 59 )

ก. กรณีนายเขียว ไม่ชอบ เนื่องจากนายเขียวไม่ได้ระบุในคำถอนฟ้องไว้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 กรณีนายจ้อย ไม่ชอบ เนื่องจากสิทธิในการดำเนินคดีอาญาย่อมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เสียหายแต่ละคน นายจ้อยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ข. กรณีนายเขียว ชอบ เนื่องจากนายเขียวมีเจตนาที่จะถอนฟ้องนายแก้วเด็ดขาดแล้วจะนำคดีมาฟ้องอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 กรณีนายจ้อย ไม่ชอบ เนื่องจากสิทธิในการดำเนินคดีอาญาย่อมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เสียหายแต่ละคน นายจ้อยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

ค. กรณีนายเขียว ชอบ เนื่องจากนายเขียวมีเจตนาที่จะถอนฟ้องนายแก้วเด็ดขาดแล้วจะนำคดีมาฟ้องอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 กรณีนายจ้อย ชอบ เนื่องจากผู้เสียหายคนอื่นได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว

ง. ไม่มีข้อใดถูก

34. พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนนายดำซึ่งถูกกล่าวหาว่า นายดำฆ่านายขาวโดยเจตนา และมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายดำตามข้อกล่าวหา แล้วส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ พนักงานอัยการพิจารณาแล้ว สั่งให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติม โดยให้พนักงานสอบสวนทำแผนที่บริเวณที่เกิดเหตุอย่างละเอียด และถ่ายรูปบริเวณสถานที่ข้างเคียงประกอบด้วย พนักงานสอบสวนได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการครบถ้วน แต่ในระหว่างที่ไปทำแผนที่และถ่ายรูปนั้น พนักงานสอบสวนได้พบกับนายเดชและนายฤทธิ์ บุคคลทั้งสองอ้างว่า ขณะเกิดเหตุตนรู้เห็นเหตุการณ์และยืนยันว่านายดำไม่ใช่คนร้าย พนักงานสอบสวนจึงได้บันทึกปากคำนายเดชและนายฤทธิ์ไว้ และทำความเห็นใหม่ว่า ควรสั่งไม่ฟ้องนายดำตามข้อกล่าวหา แล้วส่งบันทึกการสอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งของพนักงานอัยการพร้อมบันทึกคำให้การของนายเดชและนายฤทธิ์ กับความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องนายดำไปยังพนักงานอัยการให้วินิจฉัยว่า การที่พนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของนายเดชและนายฤทธิ์ และทำความเห็นใหม่ถูกต้องหรือไม่ เพียงใด (เนติ 59 )

ก. บันทึกคำให้การได้ แต่ทำความเห็นใหม่ไม่ได้

ข. บันทึกคำให้การไม่ได้ แต่ทำความเห็นใหม่ได้

ค. บันทึกคำให้การไม่ได้ และทำความเห็นใหม่ไม่ได้

ง. บันทึกคำให้การได้ แต่ทำความเห็นใหม่ได้

35. พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนกรณีนายชดถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่านายมิตร แต่เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาพยานหลักฐานจากการสอบสวนแล้ว เห็นว่าคดีมีหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนายชด ต่อมานายมั่นบิดาของนายมิตรได้ดำเนินการฟ้องนายชดในความผิดฐานฆ่านายมิตร ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น นายชดได้ทำการตกลงกับนายมั่นโจทก์ยอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่นายมั่นจนเป็นที่พอใจ โดยนายมั่นตกลงจะช่วยเหลือนายชดด้วยการดำเนินคดีไปในทางที่ให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวจึงยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับนายมั่น แต่นายชดคัดค้านว่าพนักงานอัยการไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ เพราะพนักงานอัยการได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องตนมาแล้วให้วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้หรือไม่ (เนติ 59 )

ก. ได้ ข. ไม่ได้ ค. แล้วแต่ดุลพินิจของศาล ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.

36. ธนาคารกรุงธน จำกัด ฟ้องขอให้ลงโทษนายสองจำเลย ฐานปลอมตั๋วเงิน ใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 และ 341 (เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341เป็นความผิดต่อส่วนตัว) ศาลมีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 9 มีนาคม 2550 เวลา 9 นาฬิกาโจทก์ทราบวันนัดแล้ว เจ้าพนักงานศาลได้ปิดหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องที่บ้านจำเลย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2550 ซึ่งโจทก์ได้ทราบการปิดหมายดังกล่าวแล้ว ถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ทนายจำเลยไปศาล ทนายโจทก์เห็นว่า การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์และทนายโจทก์จึงไม่ไปศาล ศาลจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม 2550 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายสองในความผิดเรื่องเดียวกันและข้อหาเดียวกันต่อศาลอีก ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องทุกฐานความผิด ให้วินิจฉัยว่า คำพิพากษายกฟ้องและคำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบหรือไม่ (เนติ 59 )

ก. เป็นกรณีที่โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องไปศาลตามกำหนดนัด เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ไปศาล การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงชอบแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องนายสองได้อีก

ข. เป็นกรณีที่การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์และทนายโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องไปศาล การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบแล้ว สำหรับความผิดตามมาตรา 265 และ 268 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องนายสองได้อีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องในความผิดสองฐานนี้ จึงไม่ชอบ ส่วนความผิดตามมาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องนายสองอีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องในความผิดฐานนี้ จึงชอบแล้ว

ค. เป็นกรณีที่การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์และทนายโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องไปศาล การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบแล้ว และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องนายสองได้อีก

ง. เป็นกรณีที่โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องไปศาลตามกำหนดนัด เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ไปศาล การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงชอบแล้ว สำหรับความผิดตามมาตรา 265 และ 268 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องนายสองได้อีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องในความผิดสองฐานนี้ จึงไม่ชอบ ส่วนความผิดตามมาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องนายสองอีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องในความผิดฐานนี้ จึงชอบแล้ว

37. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานชิงทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 357 จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแรก จำคุก 6 ปี จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง จำคุก 4 ปี และให้นำโทษจำคุก 2 ปี ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 จำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสองให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองชอบหรือไม่ (เนติ 59 )

ก. กรณีฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขทั้งบทความผิดและกำหนดโทษ เป็นการแก้ไขมาก แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี ก็ไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ถือว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกิน 5 ปี จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงชอบ

ข. กรณีฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขทั้งบทความผิดและกำหนดโทษ เป็นการแก้ไขมาก แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี ก็ไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ถือว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนดเพียง 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ

ค. กรณีฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบ ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ถือว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนดเพียง 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ

ง. กรณีฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบ วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ถือว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกิน 5 ปี จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงชอบ

38. ตามข้อ 37 ถ้าศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ขาดเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานรับของโจร ศาลฎีกาจะพิพากษาอย่างไร (เนติ 59 )

ก. เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ขาดเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย คดีจึงยุติในชั้นศาลอุทธรณ์

ข. เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ขาดเจตนาทุจริต ศาลก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เพราะจำเลยไม่ได้ฎีกาประเด็นดังกล่าว

ค. เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ขาดเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานรับของโจรนั้น เหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

ง. ไม่มีข้อใดถูก

39. พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อโดยได้แสดงพยานหลักฐานประกอบอันแสดงว่า มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อนั้นน่าจะได้กระทำความผิดและหลบหนีอยู่ทั้งนี้ โดยมีภาพทางโทรทัศน์วงจรปิดประกอบการพิจารณาของศาลด้วย ศาลพิจารณาแล้วจึงออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อนั้นตามรูปพรรณที่ปรากฏในภาพโทรทัศน์วงจรปิดตามคำร้องขอของพนักงานสอบสวน และเพื่อที่จะได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี พนักงานสอบสวนได้ขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ให้ช่วยเผยแพร่ภาพโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าวด้วย ต่อมานายสุจริตซึ่งเป็นบุคคลในภาพทางโทรทัศน์วงจรปิดที่มีการเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายจับ โดยยอมรับว่าตนเป็นบุคคลในภาพโทรทัศน์วงจรปิดที่สถานีวิทยุโทรทัศน์นำออกเผยแพร่ แต่ตนมิได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน ขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับตนนั้นเสียให้วินิจฉัยว่าการออกหมายจับของศาลชอบหรือไม่และ การที่พนักงานสอบสวนได้ขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ให้ช่วยเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์เป็นการกระทำที่ชอบหรือไม่ (เนติ 59 )

ก. การออกหมายจับของศาลชอบ เพราะเป็นกรณีมีเหตุในการออกหมายจับ และการที่พนักงานสอบสวนขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในการระบุตัวบุคคลในการจัดการตามหมายจับนั้น เป็นการกระทำเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนที่เจ้าพนักงานมีอำนาจกระทำได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (10), 2 (11), 131

ข. การออกหมายจับของศาลชอบ เพราะเป็นกรณีมีเหตุในการออกหมายจับ และการที่พนักงานสอบสวนขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในการระบุตัวบุคคลในการจัดการตามหมายจับนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เป็นการประจานขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจกระทำได้

ค. การออกหมายจับของศาลไม่ชอบ เพราะเป็นกรณีออกหมายจับบุคคลไม่ทราบชื่อจะออกไม่ได้ แต่การที่พนักงานสอบสวนขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในการระบุตัวบุคคลในการจัดการตามหมายจับนั้น เป็นการกระทำเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนที่เจ้าพนักงานมีอำนาจกระทำได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (10), 2 (11), 131

ง. การออกหมายจับของศาลไม่ชอบ เพราะเป็นกรณีออกหมายจับบุคคลไม่ทราบชื่อจะออกไม่ได้ และการที่พนักงานสอบสวนขอความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในการระบุตัวบุคคลในการจัดการตามหมายจับนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เป็นการประจานขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจกระทำได้

40. กรณีตามข้อ 39. ศาลจะสั่งคำร้องที่ขอให้เพิกถอนหมายจับของนายสุจริตอย่างไร (เนติ 59 )

ก. การพิจารณาเหตุออกหมายจับของศาลนั้น ออกให้พนักงานสอบสวน ฉะนั้น นายสุจริตไม่มีอำนาจในการร้องขอเพิกถอนหมายจับ

ข. ศาลต้องสั่งให้พนักงานสอบสวนมารับตัวนายสุจริตไปดำเนินคดี เพราะผู้ต้องหามามอบตัวแล้ว

ค. การพิจารณาเหตุออกหมายจับของศาลนั้น เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงว่ากำลังหลบหนี แต่ต่อมาปรากฏว่านายสุจริตยอมรับว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับบุคคลที่ปรากฏในภาพจริง แต่ตนไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาและนายสุจริตได้มาปรากฏตัวต่อศาลเช่นนี้ กรณีย่อมแสดงว่านายสุจริตมิได้หลบหนี เหตุในการขอให้ออกหมายจับเดิมในเรื่องหลบหนีจึงตกไป ศาลจึงต้องสั่งเพิกถอนหมายจับนั้น

ง. ศาลต้องสั่งเพิกถอนหมายจับ เพราะผู้ต้องหาเข้ามอบตัวแล้ว

41. โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ทังสามไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งประทับฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธ ก่อนสืบพยานโจทก์ นายก้านยื่นคำร้องว่าเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยักยอก ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ต่อมาโจทก์ที่ 3 ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายหลังจากนั้นโจทก์ที่ 1 ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่างผู้ตายอีกต่อไป จึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 จำเลยแถลงไม่ค้านคำร้องของนายก้านและของโจทก์ที่ 1 ทั้งสองฉบับ และจำเลยยื่นคำร้องด้วยว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 ถอนฟ้องตามคำร้องดังกล่าวแล้ว คดีเป็นอันระงับไป ศาลไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งคำร้องของนายก้าน คำร้องของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่ขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายและขอถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ที่ 3 กับคำร้องของจำเลยอย่างไร ( ผู้พิพากษา 45 )

ก. ยกคำร้องของนายก้าน เพราะผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้ ไม่ต้องด้วย ป.วิอาญามาตรา 30, 30 และสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีต่างโจทก์ที่ 3 ผู้ตาย และไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 3 ถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35วรรคสอง เนื่องจากจะกระทบต่อสิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายอื่นๆ

ข. ยกคำร้องของนายก้าน เพราะผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้ ไม่ต้องด้วย ป.วิอาญามาตรา 30, 30 และสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีต่างโจทก์ที่ 3 ผู้ตาย และอนุญาตให้โจทก์ที่3 ถอนฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35วรรคสอง

ค. อนุญาตให้นายก้านเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ตาม ป.วิอาญามาตรา 30, 30 และสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีต่างโจทก์ที่ 3 ผู้ตาย และอนุญาตให้โจทก์ที่3 ถอนฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35วรรคสอง

ง. ยกคำร้องของนายก้าน เพราะผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้ ไม่ต้องด้วย ป.วิอาญามาตรา 30, 30 และสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีต่างโจทก์ที่ 3 ผู้ตาย เพราะเป็นคดีต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35วรรคสอง

42. นายจนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่นายฉ้อข้อหาฉ้อโกงเงินค่าสมัครไปทำงานต่างประเทศจำนวน 100,000 บาท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว มีความเห็นควรสั่งฟ้องข้อหาตามความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้และข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องนายฉ้อทั้งสองข้อหาดังกล่าวข้างต้นและขอให้นายฉ้อคืนเงิน 100,000บาท ให้นายจน ผู้เสียหายด้วย นายฉ้อให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่านายฉ้อมีความผิดตามฟ้องทั้งสองข้อหาและให้นายฉ้อคืนเงิน 100,000 บาท แก่นายจน นายฉ้ออุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายจนถึงแก่ความตาย มีนายหล่อ บุตรชาย เป็นทายาทเพียงคนเดียว นายหล่อเป็นคนรักของนางสาวสวย บุตรสาวของนายฉ้อ นางสาวสวยขอร้องนายหล่อไม่ให้ดำเนินคดีแก่นายฉ้อต่อไป นายหล่อไปพบพนักงานอัยการและยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ พนักงานอัยการยื่นคำแถลงต่อศาลอุทธรณ์ว่านายหล่อ ทายาทนายจนผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ให้วินิจฉัยว่า ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งและคำพิพากษาอย่างไร( ผู้พิพากษา 45 )

ก. สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท นายหล่อจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง และ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และทำให้คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ที่ ขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ส่วนความผิดจัดหางานก็ไม่ระงับไปด้วย ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จำหน่ายคดีเช่นกัน

ข. นายหล่อไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง เพราะคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง

ค. สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท นายหล่อจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง และ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และทำให้คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ที่ ขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ส่วนความผิดจัดหางานไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำพิพากษาลงโทษนายฉ้อได้

ง. สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท นายหล่อจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง และ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) แต่ไม่กระทบต่อคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ที่ขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะทางอาญา ส่วนคำขอส่วนแพ่งศาลชอบที่จะการพิจารณาต่อไป ส่วนความผิดจัดหางานไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำพิพากษาลงโทษนายฉ้อได้

43. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544 เวลากลางคืนจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางชายแดนภาคเหนือบริเวณตำบล อำเภอ จังหวัดใดไม่ปรากฏชัด โดยไม่เดินทางเข้ามาตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองและตามกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาไม่ยื่นรายการตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประจำเส้นทางนั้น และไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และวันเดียวกันนั้นเวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกับพวกที่หลบหนีอีก 2 คน ปล้นทรัพย์สร้อยคอทองคำ 1 เส้น หนัก 1 สลึง ราคา 1,600 บาทของนางสาวใหญ่ ผู้เสียหาย ไปโดยจำเลยตบหน้าผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไป เหตุปล้นทรัพย์เกิดที่ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ตามวันเวลาดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมกับยึดสร้อยคอทองคำ 1 เส้น ของผู้เสียหายที่จำเลยกับพวกปล้นไปเป็นของกลาง และผู้เสียหายได้รับคืนไปแล้ว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 12, 18, 62 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91, 340 จำเลยมีทนายความยื่นคำให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุว่าจำเลยลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรที่ใด ขอให้ยกฟ้อง ถ้าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นคนต่างด้าวเข้ามาราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยกับพวกทั้งสองคนดังกล่าวเพียงแต่เข้าไปกระชากสร้อยคอของกลางจากคอผู้เสยหายไป อันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เท่านั้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยข้อต่อสู้ของจำเลยและพิพากษาคดีนี้ อย่างไร ( ผู้พิพากษา 45 )

ก. วินิจฉัยข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่าจำเลยกับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วย จะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เท่านั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ และวรรคหก

ข. วินิจฉัยข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม สำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่าจำเลยกับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วย จะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เท่านั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ และวรรคหก

ค. วินิจฉัยข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่าจำเลยกับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วย จะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ และวรรคหก

ง. วินิจฉัยข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม สำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่าจำเลยกับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วย จะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ และวรรคหก

44. พนักงานอัยการยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งมีอายุ 17 ปี และบวกโทษจำคุก 1 ปี ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำคุก 9 ปีและบวกโทษที่รอการลงโทษไว้แล้ว รวมจำคุก 10 ปี โดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลซั้นต้นลงโทษจำคุกสูงเกินไป ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษให้จำคุก 5 ปี บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยฎีกาว่า

ก. ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษหนักเกินไป ขอให้ศาลฎีกาลงโทษเบาลงอีก

ข. ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ ขอให้ศาลฎีกาลดมาตราส่วนโทษให้

ค. ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไม่ถูกต้องโดยหักวันคุมขังขาดไป 20 วัน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้วินิจฉัยว่า ฎีกาของจำเลยต้องห้ามหรือไม่ ( ผู้พิพากษา 45 )

ก. ฎีกาข้อ ก. และ ข้อ ข. เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้าม ฎีกาข้อ ค. เป็นเรื่องของการบังคับคดี ต้องร้องที่ศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม

ข. ฎีกาข้อ ก. เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ฎีกาข้อ ข. และ ข้อ ค.เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้าม

ค. ฎีกาข้อ ก. เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ฎีกาข้อ ข. เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้าม ฎีกาข้อ ค. เป็นเรื่องของการบังคับคดี ต้องร้องที่ศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม

ง. ฎีกาข้อ ก. ข้อ ข.และ ข้อ ค.เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้าม

45. นายดำขับรถยนต์ชนนายขาวซึ่งเดินอยู่ริมถนนได้รับบาดเจ็บสาหัสเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายดำในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แล้วส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ นายขาวผู้เสียหายได้ร้องขอให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายแทนตนด้วย ระหว่างพิจารณาของพนักงานอัยการ นายขาวผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยตนเอง ให้วินิจฉัยว่า ถ้าพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาจะเรียกค่าเสียหายแทนนายขาวได้หรือไม่ และหากนายขาวจะฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายด้วยตนเองจะยื่นฟ้องต่อศาลใดได้บ้าง (เนติ54)

ก. พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกค่าเสียหายแทนนายขาวได้ คดีส่วนแพ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นายขาวย่อมมีอำนาจฟ้องนายดำต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลซึ่งมีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้

ข. พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกค่าเสียหายแทนนายขาว คดีส่วนแพ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นายขาวย่อมมีอำนาจฟ้องนายดำต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลซึ่งมีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้

ค. พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกค่าเสียหายแทนนายขาวได้ คดีส่วนแพ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นายขาวย่อมมีอำนาจฟ้องนายดำต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา

ง. พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกค่าเสียหายแทนนายขาวได้ คดีส่วนแพ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นายขาวย่อมมีอำนาจฟ้องนายดำต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีแพ่ง

46. นายมากแต่งตั้งให้นายน้อยเป็นทนายความฟ้องคดีเรียกเงินตามเช็คจากลูกหนี้ของนายมาก โดยให้นายน้อยมีอำนาจรับเงินแทนได้ แต่เมื่อนายน้อยเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้แล้วไม่นำไปให้นายมาก นายมากจึงยื่นฟ้องนายน้อยเป็นคดีอาญาฐานยักยอก เมื่อคดีอาญาอยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้น นายน้อยได้นำเอาใบคำร้องเปล่ามาทำปลอมเป็นคำร้องของนายมากมีข้อความว่า นายมากขอถอนฟ้องคดีที่ฟ้องนายน้อยจำเลย แล้วนายน้อยให้ผู้อื่นปลอมตนเป็นผู้แทนโจทก์นำคำร้องขอถอนฟ้องปลอมฉบับนั้นไปยื่นต่อศาล โดยนายน้อยได้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่าไม่คัดค้านการขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นหลงเชื่อว่านายมากประสงค์จะขอถอนฟ้องจริง จึงสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ นายมากทราบเรื่องภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างว่าคำร้องขอถอนฟ้องเป็นเอกสารปลอม ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามคำร้องของนายมากหรือไม่(เนติ54)

ก. การสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นไปตามประบวนการพิจารณา แม้จะเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์เพื่อเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด และยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

ข. การสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์เพื่อเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด และยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

ค. การสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด และยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

ง. การสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นไปตามประบวนการพิจารณา เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ทราบเรื่องเมื่อพ้นระยะอุทธรณ์ โจทก์ไม่มีมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด

47. นายเฒ่าให้แหวนเพชร 1 วง แก่นางสาวอ่อนโดยเสน่หา แต่ต่อมานายเฒ่าโกรธนางสาวอ่อน จึงเอาความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่านางสาวอ่อนยักยอกแหวนเพชรของตนไป แต่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีให้ เพราะนายเฒ่าบอกว่าขอแจ้งไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น หลังจากนั้น นายเฒ่าได้ยื่นฟ้องนางสาวอ่อนต่อศาลว่ากระทำความผิดฐานยักยอกแหวนเพชร ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลสั่งประทับฟ้อง นายเฒ่าได้อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่านางสาวอ่อนยักยอกแหวนเพชรของตนไป ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่านายเฒ่ามอบแหวนเพชรให้นางสาวอ่อนโดยเสน่หานางสาวอ่อนไม่มีความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ นางสาวอ่อนจะมีอำนาจฟ้องนายเฒ่าเป็นจำเลยคดีอาญาในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ฐานฟ้องเท็จและฐานเบิกความเท็จได้หรือไม่ เพียงใด(เนติ54)

ก. การแจ้งความของนายเฒ่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่นางสาวอ่อน นางสาวอ่อนจึงมีอำนาจฟ้อง แต่การที่นายเฒ่ายื่นคำฟ้องอันเป็นเท็จและเข้าเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง นางสาวอ่อนผู้ถูกฟ้องย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนายเฒ่าฐานฟ้องเท็จและฐานเบิกความเท็จได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28 (2)

ข. การแจ้งความของนายเฒ่าจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นางสาวอ่อนอันจะเป็นเหตุให้นางสาวอ่อนมีฐานะเป็นผู้เสียหาย นางสาวอ่อนจึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การที่นายเฒ่ายื่นคำฟ้องอันเป็นเท็จและเข้าเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง นางสาวอ่อนผู้ถูกฟ้องย่อมไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนายเฒ่าฐานฟ้องเท็จและฐานเบิกความเท็จได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28 (2)

ค. การแจ้งความของนายเฒ่าจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นางสาวอ่อนอันจะเป็นเหตุให้นางสาวอ่อนมีฐานะเป็นผู้เสียหาย นางสาวอ่อนจึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การที่นายเฒ่ายื่นคำฟ้องอันเป็นเท็จและเข้าเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง นางสาวอ่อนผู้ถูกฟ้องย่อมไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนายเฒ่าฐานฟ้องเท็จและฐานเบิกความเท็จได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28 (2)

ง. การแจ้งความของนายเฒ่าจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นางสาวอ่อนอันจะเป็นเหตุให้นางสาวอ่อนมีฐานะเป็นผู้เสียหาย นางสาวอ่อนจึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การที่นายเฒ่ายื่นคำฟ้องอันเป็นเท็จและเข้าเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง นางสาวอ่อนผู้ถูกฟ้องย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนายเฒ่าฐานฟ้องเท็จและฐานเบิกความเท็จได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ประกอบมาตรา 28 (2)

48. นายสุรินทร์เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนายสำราญฐานพยายามฆ่านายสุรินทร์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง ต่อมาอีก 1 เดือน พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายสำราญในข้อหาพยายามฆ่านายสุรินทร์ผู้เสียหายดังกล่าวอีก นายสำราญจำเลยให้การปฏิเสธ และต่อสู้ว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเพราะศาลได้เคยพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องและฟังว่านายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ ผู้เสียหายจริง แต่เป็นการกระทำโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี พนักงานอัยการอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน ส่วนนายสำราญจำเลยอุทธรณ์ว่า พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง แต่เห็นว่าการที่นายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องนั้นชอบหรือไม่(เนติ54)

ก. กรณีอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าการที่นายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ ผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีประเด็นว่าจำเลยกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215

ข. กรณีอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าการที่นายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ ผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีประเด็นว่าจำเลยกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215

ค. กรณีอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าการที่นายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ ผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีประเด็นว่าจำเลยกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215

ง. กรณีอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าการที่นายสำราญจำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายสุรินทร์ ผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่มีความผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จะไม่มีประเด็นว่าจำเลยกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215

49. โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365 (2) และบังคับให้ขับไล่จำเลยกับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้อง โดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นในศาลอีกแห่งหนึ่งซึ่งเคยนั่งพิจารณาสืบพยานประเด็นคดีนี้เป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าหากท่านเป็นศาลชั้นต้น จะสั่งรับฎีกาโจทก์หรือไม่(เนติ54)

ก. ป.วิ.อาญา มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ ก็เฉพาะแต่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ คดีส่วนอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งไม่รับฎีกาในคดีส่วนอาญาของโจทก์ สำหรับคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แต่เมื่อคดีส่วนอาญายุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฎีกาของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฎีกาคดีส่วนแพ่งของโจทก์ด้วยเช่นกัน

ข. ป.วิ.อาญา มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการชอบ คดีส่วนอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งไม่รับฎีกาในคดีส่วนอาญาของโจทก์ สำหรับคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แต่เมื่อคดีส่วนอาญายุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฎีกาของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฎีกาคดีส่วนแพ่งของโจทก์ด้วยเช่นกัน

ค. ป.วิ.อาญา มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ ก็เฉพาะแต่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ คดีส่วนอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก คู่ความมิต้องห้ามให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งรับฎีกาในคดีส่วนอาญาของโจทก์ สำหรับคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แต่เมื่อคดีส่วนอาญายุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฎีกาของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฎีกาคดีส่วนแพ่งของโจทก์ด้วยเช่นกัน

ง. ป.วิ.อาญา มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ ก็เฉพาะแต่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ คดีส่วนอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งไม่รับฎีกาในคดีส่วนอาญาของโจทก์ สำหรับคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องสั่งรับฎีกาคดีส่วนแพ่งของโจทก์ด้วยเช่นกัน

50. วันที่ 7 เมษายน 2544 นางชอบซึ่งมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์และสมรสแล้ว ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ ในวันเดียวกันนางชอบได้เข้าพบร้อยตำรวจโทชายพนักงานสอบสวน ร้อยตำรวจโทชายแจ้งข้อหาดังกล่าวให้ทราบและบอกด้วยว่าถ้อยคำที่นางชอบกล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันนางชอบในการพิจารณาได้และแจ้งว่านางชอบมีสิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำได้ จากนั้นได้ทำการสอบปากคำนางชอบโดยมีนักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการ และสามีของนางชอบเข้าฟังด้วย นางชอบให้การรับสารภาพและยอมรับว่าการสอบปากคำชอบด้วยกฎหมาย ร้อยตำรวจโทชายสอบสวนพยานหลักฐานอื่นแล้วส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการจนมีการฟ้องนางชอบเป็นจำเลยต่อศาล ในชั้นพิจารณาของศาลนางชอบยกข้อต่อสู้ว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะไม่จัดหาทนายความให้ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้วินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของนางชอบฟังขึ้นหรือไม่(เนติ54)

ก. การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปเฉพาะคำให้การของนางชอบ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ข้อต่อสู้ของนางชอบฟังไม่ขึ้น

ข. การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด แต่พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ข้อต่อสู้ของนางชอบไม่ฟังขึ้น

ค. การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามป.วิ.อาญา มาตรา 120 ข้อต่อสู้ของนางชอบฟังขึ้น

ง. การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปเฉพาะคำให้การของนางชอบ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามป.วิ.อาญา มาตรา 120 ข้อต่อสู้ของนางชอบฟังขึ้น

ก.

51. ดกห

52. ดกห

53. ดกห

54. ดกห

55. ดกห

56. ดกห

57. ดกห

58. ดกห

59. ดกห

60. ดกห

61. ดกห

62. ดกห

63. ดกห

64. ดกห

65. ดกห

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.

35.

36.

37.

38.

39.

40.

41.

42.

43.

44.

45.

46.

47.

48.

49.

50.

51.

52.

53.

54.

55.

56.

57.

58.

59.

60.

61.

62.

63.

64.

65.

66.

67.

68.

69.

70.

71.

72.

73.

74.

75.

76.

77.

78.

79.

80.

81.

82.

83.

84.

85.

86.

87.

88.

89.

90.

91.

92.

93.

94.

95.

96.

97.

98.

99.

100.

2 ความคิดเห็น: